ประวัติเมืองเลย
ดินแดนซึ่งเป็นที่ก่อตั้งของจังหวัดเลย มีหลักฐานและประวัติความเป็นมาว่าก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้อพยพผู้คนจากอาณาจักรโยนกที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันจนถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย จากนั้นได้อพยพขึ้นไปตามลำน้ำและได้สร้างบ้านหนองคูขึ้น พร้อมกับนำชื่อหมู่บ้านด่านซ้ายมาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็นเมืองด่านซ้าย และอพยพไปอยู่ที่บางยางในที่สุด
ต่อมามีชาวโยนกกลุ่มหนุ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตล้านช้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น จากหลักฐานสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัยขึ้นจึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไล และได้ตั้งบ้านเรือนขึ้น ขนานนามว่า "ห้วยหมาน"
ในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยน้ำหมานและอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมืองเพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมือง เรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ในปี พ.ศ.2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และในปี 2450 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น อำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
9,000 ปี ยุคหิน วัฒนธรรมโฮบินเนียนตอนปลาย ครั้งที่มนุษย์ยังเร่ร่อนยังชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์และเก็บพืชพันธุ์ในป่าเป็นอาหาร มีการค้นพบหลักฐานพวกเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งทำจากกรวดแม่น้ำ และเศษภาชนะดินเผา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ในท้องที่อำเภอเชียงคาน
5,000 ปี ยุคหิน ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีการค้นพบหลักฐานคือเครื่องมือหินขัด เช่น ขวานหินขัด และกำไลหิน กระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ เกือบ 100 แห่ง ในท้องที่อำเภอท่าลี่ อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน ทางตอนเหนือ ต่อลงมาตามแนวที่ราบตอนกลาง และตอนใต้ของจังหวัด ในบริเวณอำเภอเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง
4,000-2,000 ปี ยุคสัมฤทธิ์ พบหลักฐานที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า มีการขุดแร่เหล็กและทองแดงในบริเวณอำเภอปากชม และอำเภอเมืองเลย ขึ้นมาใช้
ยุคประวัติศาสตร์
พุทธศตวรรษที่ 13-17 ยุคทราวดี พบใบเสมาหินที่ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง
พุทธศตวรรษที่ 21 เกิดการสร้างบ้านแปงเมืองสามแห่งในพื้นที่จังหวัดเลย คือ บ้านเซไล ในที่ราบลุ่มตอนกลางของจังหวัด เมืองเชียงคาน ทางตอนเหนือ ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง และเมืองด่านซ้าย ทางทิศตะวันตก เมืองทั้งสามแห่งนี้และเมืองใกล้เคียงภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง
พ.ส.2103 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้น ที่เมืองด่านซ้าย เพื่อเป็นสักขีพยานในการทำสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักรคือ อยุธยากับล้านช้างขณะนั้นพม่าในรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามายังลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง
พ.ศ. 2220 มีจารึกการสร้างที่วัดศรีภูมิ ตำบลกุดป่อง ซึ่งเมืองด่านซ่ายและเมืองเชียงคาน เป็นเมืองที่ถูกเอ่ยถึงในประวัติศาสตร์ ส่วนร่องรอยของเมืองในสมัยโบราณเป็นคูเมือง เช่น เมืองตูม ที่อำเภอท่าลี่
พ.ศ. 2238 เกิดความวุ่นวายในอาณาจักรล้านนา เป็นเหตุให้ต้องแบ่งแยกออกเป็น 2 แคว้น คือ หลวงพระบางทางเหนือ และเวียงจันทน์ทางใต้ เมืองเชียงคานกลายเป็นเมืองหน้าด่านของหลวงพระบาง ป้องกันการรุกรานจากฝ่ายเวียงจันทน์ ขณะนั้นเมืองเชียงคานตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศลาว
พ.ศ.2321 ลานช้างรวมทั้งเชียงคาน ตกเป็นประเทศราชของไทยในสมัยกรุงธนบุรี
พ.ศ.2396 เลยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองเลย ขึ้นกับมณฑลอุดร รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวคำแสนเป็น "หลวงศรีสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก
พ.ศ.2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จนไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส คนจากเมืองเชียงคานเดิมจึงอพยพมาตั้งบ้านเมืองใหม่อยู่ฝั่งไทย โดยใช้ชื่อเดิมคือ เชียงคาน
พ.ศ.2476 ยกฐานะเมืองเลย ขึ้นเป็นจังหวัด
พ.ศ.2504 ตัดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 เชื่อมขอนแก่นกับเมืองเลย ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นับเป็นการเปิดเมืองเลยออกสู่โลกภายนอก เส้นทางสายนี้ยังทำให้คนจากต่างถิ่นอพยพเข้าสู่เมืองเลยมากขึ้น
พ.ศ.2535 พัฒนาเมืองเลย เป็นศูนย์สนับสนุนการท่องเที่ยวบริเวณริมแม่น้ำโขง
พ.ศ.2440 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมือง คือ อำเภอกุดป่อง
พ.ศ.2442-2449 เปลี่ยนชื่อเมืองเลย เป็นบริเวณลำน้ำเลย
พ.ศ.2559-24450 เปลี่ยนชื่อเมืองเลย เป็นบริเวณลำน้ำเหือง
พ.ศ.2450 มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้เหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน
ให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย
โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน