ชื่อ : คริสเตียน บาร์นาร์ด
ประวัติ : ชื่อเต็มของเขาคือคริสเตียน นีธลิง บาร์นาร์ด เกิดเมื่อวันที่8 พฤศจิกายน ค.ศ.1922 เขาเกิดและเติบโตขึ้นที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อว่าโบฟอร์ตเวสต์ ของเคปทาวน์ อยู่ทางตอนใต้ในประเทศแอฟริกาใต้ บิดามีชื่อว่า อดัม เฮนดริก บาร์นาร์ด เป็นบาทหลวงผู้เป็นนักเทศน์ประจำโบสถ์ มารดามีชื่อว่ามาเรีย เอลิซาเบธ เดอ สจวต เป็นคนเล่นออร์แกนประจำโบสถ์และเป็นแม่บ้านเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวของคริสเตียน บาร์นาร์ด เป็นชาวแอฟริกันผิวขาว ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์ ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวใหญ่ เขามีพี่น้องเป็นชายทั้งหมดด้วยกัน 4 คน แต่มีเรื่องน่าเศร้าเกิดขึ้นกับครอบครัวนี้เมื่ออับราฮัม พี่ชายคนหนึ่งของเขาได้เสียชีวิตเพราะโรคหัวใจตั้งแต่มีอายุได้เพียง 5 ขวบเท่านั้น ประสบการณ์ตรงในชีวิตวัยเด็กจึงถือเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้คริสเตียน บาร์นาร์ด เลือกประกอบอาชีพเป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ เขาศึกษาวิชาการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเคปทาวน์เมื่อปีค.ศ.1940 เขาเป็นนักเรียนแพทย์ธรรมดาที่เต็มไปด้วยความอุตสาหะพากเพียรในการเรียน และต้องทำงานพิเศษอย่างหนักเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในการเรียนเขาเรียนจบได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและศัลยศาสตรบัณฑิตในปี ค.ศ.1946 หลังจากที่ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 6 ปี หลังเรียนจบ คริสเตียน บาร์นาร์ด เริ่มทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดอยู่ที่โรงพยาบาลกรูตชืร ที่ซึ่งเขาได้แต่งงานกับภรรยาคนแรก และมีเรื่องเกิดขึ้นระหว่างการทำงานที่นั่น ซึ่งเป็นอีกแรงผลักดันที่ทำให้เขากลายเป็นศัลยแพทย์ด้านหัวใจคือ มีคนไข้ที่ถูกส่งตัวมารักษาเป็นทารกชายที่ป่วยเป็นโรคหัวใจรักษาไม่ได้ ต่อมาเด็กทารกคนนั้นเสียชีวิตลง ทำให้เขาเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องมีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจโดยใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ในปี ค.ศ.1956 นายแพทย์คริสเตียน บาร์นาร์ด ได้รับทุนการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี เพื่อศึกษาด้านการผ่าตัดศัลยกรรมหลอดเลือดและหัวใจ ณ มหาวิทยาลัยแห่งมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัดล่าสุดเพื่อการรักษาโรคทางหัวใจ ระหว่างนั้นเขาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยที่ทำงานด้านเครื่องหัวใจและปอดเทียม กับศาสตราจารย์วาเกนสตีน นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัด ทำให้เขาเปลี่ยนจากการเป็นศัลยแพทย์ทั่วไปมาเป็นแพทย์ผู้ศึกษาเกี่ยวกับโรคหัวใจและการผ่าตัดหลอดเลือดและหัวใจ เขาเห็นประโยชน์ของการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมในการผ่าตัด และเกิดแนวคิดว่าหากสามารถผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ แล้วทำไมจะไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้ หลังจากนั้นอีก 3 ปี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกศัลยกรรมหลอดเลือดและหัวใจที่โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ในปี ค.ศ.1962 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองศาสตราจารย์ของภาควิชาศัลยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ในปีต่อๆ มาเขาเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคทางหัวใจ และกลายเป็นศัลยแพทย์อาวุโสด้านหลอดเลือดและหัวใจที่เป็นที่เคารพในโรงพยาบาลกรูตชืรในเมืองเคปทาวน์ เขาได้นำวิธีการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและวิธีการรักษาอื่นๆมาใช้รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันก็ได้ทำการทดลองผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสุนัขอยู่เป็นเวลาหลายปี อาการหัวใจล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง แต่รอดชีวิตมาได้ ถึงแม้กระนั้นสภาพร่างกายของเขาในขณะนั้นก็ย่ำแย่เต็มที หัวใจของเขามีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก มีอาการหายใจลำบาก ไตและตับก็กำลังจะวาย ขาบวมมาก คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น คนไข้ผู้นี้มีทางเลือกอยู่ 2 ทาง คือนอนรอความตาย กับเลือกที่จะเสี่ยงทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่นายแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดรับประกันว่า มีเปอร์เซ็นต์ของการรอดชีวิตอยู่ 80% คนไข้คนนี้เลือกหนทางสุดท้ายคือเลือกที่จะผ่าตัด