๓.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยของโซลอนยุคใหม่ของกรีกเริ่มในสมัยของโซลอ การแปล - ๓.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยของโซลอนยุคใหม่ของกรีกเริ่มในสมัยของโซลอ ไทย วิธีการพูด

๓.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยของโซ

๓.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยของโซลอน
ยุคใหม่ของกรีกเริ่มในสมัยของโซลอน ซึ่งถือว่าเป็นผู้วางรากฐานประชาธิปไตยของกรีก ในระยะนี้ กรีกมีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมมาก คือ ชนชั้นเศรษฐีมีฐานะร่ำรวยมาก และชาวนายากจนลงทุกที เกิดการกดขี่ขูดรีดค่าจ้างแรงงานอย่างหนัก ชนชั้นที่ยากจนได้เลือกโซลอน ซึ่งมาจากชนชั้นพ่อค้าที่มั่งคั่งขึ้นเป็นผู้นำ เพราะเห็นความสามารถเมื่อครั้งที่ปลุกใจชาวเอเธนส์ยึดเกาะซาลามิส (Salamis) คืนจากเมการา (Megara) ได้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอาร์ดอน มีอำนาจตรากฎหมาย โซลอนมองเห็นว่า หากไม่แก้ปัญหาฐานะของคนยากจนแล้ว ก็จะเกิดปัญหาแตกแยกยิ่งขึ้นภายในนครรัฐ จึงเริ่มการปรับปรุงครั้งใหญ่ในด้านสังคมและการเมือง ซึ่งทำให้ชนชั้นที่ยากจนมีสิทธิต่าง ๆ มากขึ้น และวางรากฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งศาลยุติธรรม เรียกว่า เฮเลีย (Heliaea) และสภาสี่ร้อย (Council of Four Hundred) ขึ้น การปฏิรูปของโซลอนนี้ นับว่าเป็นการเน้นถึงแนวคิดในเรื่อง ความเสมอภาค (Equality) เป็นการจำกัดอำนาจทางการเมืองของคนรวย ซึ่งเท่ากับถือว่าความมั่งคั่งมิใช่ที่มาของอำนาจทางการเมือง และรัฐมีหน้าที่จัดการในเรื่องทรัพย์สิน มิให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันในด้านฐานะจนเกินไป ความเสมอภาคทั้งทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ จึงเป็นแนวความคิดสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการปฏิรูปครั้งนี้ นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นแนวคิดทางรัฐจริยศาสตร์ที่ว่า รัฐมีหน้าที่คุ้มครองคนยากจนและอ่อนแอให้พ้นจากการกดขี่ของคนที่ร่ำรวยและ แข็งแรงกว่า การปฏิรูปนี้มิได้ทำไปตามอำเภอใจ แต่ทำโดยการออกกฎหมาย
ใน ระยะเดียวกันนี้ แนวความคิดอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมิใช่การปฏิรูปทางด้านตัวระบบการเมืองและสังคม แต่เป็นการปลูกฝังหลักศีลธรรมลงในจิตใจคน ก็คือ คำสอนแห่งเดลฟี่ (Delphi) กล่าวคือ ในราว ๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาล เดลฟี่ได้กลายเป็นรัฐศักดิ์สิทธิ์หรือรัฐศาสนา และพวกนักบวชได้สอนศีลธรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแนวทางในจริยศาสตร์และกฎหมายกรีก คำสอนดังกล่าวได้แก่ หลักการรู้จักประมาณ รู้จักความดี และการถือว่าทุกสิ่งมีขอบเขตจำกัด ซึ่งต่อมาความคิดนี้ ปรากฏในคำสอนของพวกไพธากอรัส เรื่อง ความจำกัด (Limit) และปรากฎในคำสอน เรื่อง ทางสายกลาง (Mean) ของอริสโตเติล นักปราชญ์คนสำคัญของกรีกโบราณ

๔.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยไพธากอรัส
คำสอนแบบเดลฟี่นั้นมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวกรีก โดยเฉพาะเชื้อสายดอเรียน (Dorian) นครรัฐที่สำคัญที่สุดของกรีกเผ่านี้ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา (sparta) นครรัฐนี้รับอิทธิพลคำสอนแบบเดลฟี่มาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมาก เช่น การไม่ให้ความสำคัญแก่ความมั่งคั่ง การเน้นกฎเกณฑ์และระเบียบวินัย ซึ่งเป็นเครื่องจำกัดเสรีภาพของมนุษย์ แต่ในดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ และบนฝั่งไอโอเนียมีลักษณะเป็นสังคมเมืองมาตั้งแต่แรก เหตุผลและความพอใจต่อความสุขทางวัตถุมีมาโดยตลอด มิได้เป็นสังคมแบบเผ่า มีความเจริญ มีเสรีภาพทั้งทางปัญญาและวัตถุ ที่รัฐแถบไอโอเนียนั้น คนมีความเจริญทางปัญญาถึงขั้นที่สนใจถามปัญหาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต มนุษย์โดยตรง เช่น เรื่องธรรมชาติของจักรวาล ต้นกำเนิดของจักรวาล ความแปรเปลี่ยน เป็นต้น ส่วนในด้านการดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็มีปรัชญาของไพธากอรัส ซึ่งเป็นชางไอโอเนียจากเกาะซามอส เป็นหลักก่อนที่จะถึงคำสอนของโสเกรตีส (Socratis) ชาวเอเธนส์
เรา มักรู้จักไพธากอรัส ในฐานะเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่ที่จริงแล้วไพธากอรัสและพวกถือว่าความรู้ทางคณิตศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของจักรวาล และได้ใช้ความรู้นี้อธิบายทั้งเรื่องธรรมชาติ จริยธรรมและการเมือง เช่น ความยุติธรรม คือ จำนวนที่คูณตัวมันเอง หรือกำลังสอง เพราะกำลังสองเป็นเลขจำนวนที่สมดุลที่สุด เนื่องจากประกอบขึ้นเป็นส่วนประกอบที่เท่า ๆ กันทุกส่วน ดังนั้น เมื่อความยุติธรรมเป็นจำนวนยกกำลังสองเพราะเหตุว่าทุกส่วนเท่ากัน รัฐที่ยุติธรรมจึงต้องเป็นรัฐที่ทุกส่วนเท่ากันหรือเสมอภาคกัน นั่นคือ แนวคิดเรื่องความยุติธรรมอธิบายได้ด้วยแนวคิดเรื่องความเสมอภาค เช่น การแบ่งผลประโยชน์จากฝ่ายที่ได้มากไปเพิ่มให้แก่ฝ่ายที่ได้น้อย เป็นต้น นอกจากความเท่าเทียมกันแล้ว เราจะเห็นว่า ความยุติธรรมในแง่นี้เกิดจากการปรับ ซึ่งเพลโตได้นำความคิดนี้ไปใช้ แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่ปรับให้สมาชิกของรัฐทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ปรับให้สมาชิกทุกคนได้สิ่งที่เหมาะสมแก่ธรรมชาติของตน และในเรื่องธรรมชาติของคน เพลโตก็ยังปรับเรื่องการแบ่งคนเป็น ๓ พวก คือ พวกรักปัญญา พวกรักเกียรติ และพวกรักผลประโยชน์ มาจากคำสอนของพวกไพธากอรัสด้วย
0/5000
จาก: -
เป็น: -
ผลลัพธ์ (ไทย) 1: [สำเนา]
คัดลอก!
๓.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยของโซลอนยุคใหม่ของกรีกเริ่มในสมัยของโซลอน ซึ่งถือว่าเป็นผู้วางรากฐานประชาธิปไตยของกรีก ในระยะนี้ กรีกมีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมมาก คือ ชนชั้นเศรษฐีมีฐานะร่ำรวยมาก และชาวนายากจนลงทุกที เกิดการกดขี่ขูดรีดค่าจ้างแรงงานอย่างหนัก ชนชั้นที่ยากจนได้เลือกโซลอน ซึ่งมาจากชนชั้นพ่อค้าที่มั่งคั่งขึ้นเป็นผู้นำ เพราะเห็นความสามารถเมื่อครั้งที่ปลุกใจชาวเอเธนส์ยึดเกาะซาลามิส (Salamis) คืนจากเมการา (Megara) ได้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอาร์ดอน มีอำนาจตรากฎหมาย โซลอนมองเห็นว่า หากไม่แก้ปัญหาฐานะของคนยากจนแล้ว ก็จะเกิดปัญหาแตกแยกยิ่งขึ้นภายในนครรัฐ จึงเริ่มการปรับปรุงครั้งใหญ่ในด้านสังคมและการเมือง ซึ่งทำให้ชนชั้นที่ยากจนมีสิทธิต่าง ๆ มากขึ้น และวางรากฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งศาลยุติธรรม เรียกว่า เฮเลีย (Heliaea) และสภาสี่ร้อย (Council of Four Hundred) ขึ้น การปฏิรูปของโซลอนนี้ นับว่าเป็นการเน้นถึงแนวคิดในเรื่อง ความเสมอภาค (Equality) เป็นการจำกัดอำนาจทางการเมืองของคนรวย ซึ่งเท่ากับถือว่าความมั่งคั่งมิใช่ที่มาของอำนาจทางการเมือง และรัฐมีหน้าที่จัดการในเรื่องทรัพย์สิน มิให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันในด้านฐานะจนเกินไป ความเสมอภาคทั้งทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ จึงเป็นแนวความคิดสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการปฏิรูปครั้งนี้ นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นแนวคิดทางรัฐจริยศาสตร์ที่ว่า รัฐมีหน้าที่คุ้มครองคนยากจนและอ่อนแอให้พ้นจากการกดขี่ของคนที่ร่ำรวยและ แข็งแรงกว่า การปฏิรูปนี้มิได้ทำไปตามอำเภอใจ แต่ทำโดยการออกกฎหมายใน ระยะเดียวกันนี้ แนวความคิดอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมิใช่การปฏิรูปทางด้านตัวระบบการเมืองและสังคม แต่เป็นการปลูกฝังหลักศีลธรรมลงในจิตใจคน ก็คือ คำสอนแห่งเดลฟี่ (Delphi) กล่าวคือ ในราว ๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาล เดลฟี่ได้กลายเป็นรัฐศักดิ์สิทธิ์หรือรัฐศาสนา และพวกนักบวชได้สอนศีลธรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแนวทางในจริยศาสตร์และกฎหมายกรีก คำสอนดังกล่าวได้แก่ หลักการรู้จักประมาณ รู้จักความดี และการถือว่าทุกสิ่งมีขอบเขตจำกัด ซึ่งต่อมาความคิดนี้ ปรากฏในคำสอนของพวกไพธากอรัส เรื่อง ความจำกัด (Limit) และปรากฎในคำสอน เรื่อง ทางสายกลาง (Mean) ของอริสโตเติล นักปราชญ์คนสำคัญของกรีกโบราณ
๔.ความคิดทางการเมืองกรีกในสมัยไพธากอรัส
คำสอนแบบเดลฟี่นั้นมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวกรีก โดยเฉพาะเชื้อสายดอเรียน (Dorian) นครรัฐที่สำคัญที่สุดของกรีกเผ่านี้ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา (sparta) นครรัฐนี้รับอิทธิพลคำสอนแบบเดลฟี่มาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมาก เช่น การไม่ให้ความสำคัญแก่ความมั่งคั่ง การเน้นกฎเกณฑ์และระเบียบวินัย ซึ่งเป็นเครื่องจำกัดเสรีภาพของมนุษย์ แต่ในดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ และบนฝั่งไอโอเนียมีลักษณะเป็นสังคมเมืองมาตั้งแต่แรก เหตุผลและความพอใจต่อความสุขทางวัตถุมีมาโดยตลอด มิได้เป็นสังคมแบบเผ่า มีความเจริญ มีเสรีภาพทั้งทางปัญญาและวัตถุ ที่รัฐแถบไอโอเนียนั้น คนมีความเจริญทางปัญญาถึงขั้นที่สนใจถามปัญหาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต มนุษย์โดยตรง เช่น เรื่องธรรมชาติของจักรวาล ต้นกำเนิดของจักรวาล ความแปรเปลี่ยน เป็นต้น ส่วนในด้านการดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็มีปรัชญาของไพธากอรัส ซึ่งเป็นชางไอโอเนียจากเกาะซามอส เป็นหลักก่อนที่จะถึงคำสอนของโสเกรตีส (Socratis) ชาวเอเธนส์
เรา มักรู้จักไพธากอรัส ในฐานะเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่ที่จริงแล้วไพธากอรัสและพวกถือว่าความรู้ทางคณิตศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของจักรวาล และได้ใช้ความรู้นี้อธิบายทั้งเรื่องธรรมชาติ จริยธรรมและการเมือง เช่น ความยุติธรรม คือ จำนวนที่คูณตัวมันเอง หรือกำลังสอง เพราะกำลังสองเป็นเลขจำนวนที่สมดุลที่สุด เนื่องจากประกอบขึ้นเป็นส่วนประกอบที่เท่า ๆ กันทุกส่วน ดังนั้น เมื่อความยุติธรรมเป็นจำนวนยกกำลังสองเพราะเหตุว่าทุกส่วนเท่ากัน รัฐที่ยุติธรรมจึงต้องเป็นรัฐที่ทุกส่วนเท่ากันหรือเสมอภาคกัน นั่นคือ แนวคิดเรื่องความยุติธรรมอธิบายได้ด้วยแนวคิดเรื่องความเสมอภาค เช่น การแบ่งผลประโยชน์จากฝ่ายที่ได้มากไปเพิ่มให้แก่ฝ่ายที่ได้น้อย เป็นต้น นอกจากความเท่าเทียมกันแล้ว เราจะเห็นว่า ความยุติธรรมในแง่นี้เกิดจากการปรับ ซึ่งเพลโตได้นำความคิดนี้ไปใช้ แต่ไม่ใช่ในลักษณะที่ปรับให้สมาชิกของรัฐทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ปรับให้สมาชิกทุกคนได้สิ่งที่เหมาะสมแก่ธรรมชาติของตน และในเรื่องธรรมชาติของคน เพลโตก็ยังปรับเรื่องการแบ่งคนเป็น ๓ พวก คือ พวกรักปัญญา พวกรักเกียรติ และพวกรักผลประโยชน์ มาจากคำสอนของพวกไพธากอรัสด้วย
การแปล กรุณารอสักครู่..
 
ภาษาอื่น ๆ
การสนับสนุนเครื่องมือแปลภาษา: กรีก, กันนาดา, กาลิเชียน, คลิงออน, คอร์สิกา, คาซัค, คาตาลัน, คินยารวันดา, คีร์กิซ, คุชราต, จอร์เจีย, จีน, จีนดั้งเดิม, ชวา, ชิเชวา, ซามัว, ซีบัวโน, ซุนดา, ซูลู, ญี่ปุ่น, ดัตช์, ตรวจหาภาษา, ตุรกี, ทมิฬ, ทาจิก, ทาทาร์, นอร์เวย์, บอสเนีย, บัลแกเรีย, บาสก์, ปัญจาป, ฝรั่งเศส, พาชตู, ฟริเชียน, ฟินแลนด์, ฟิลิปปินส์, ภาษาอินโดนีเซี, มองโกเลีย, มัลทีส, มาซีโดเนีย, มาราฐี, มาลากาซี, มาลายาลัม, มาเลย์, ม้ง, ยิดดิช, ยูเครน, รัสเซีย, ละติน, ลักเซมเบิร์ก, ลัตเวีย, ลาว, ลิทัวเนีย, สวาฮิลี, สวีเดน, สิงหล, สินธี, สเปน, สโลวัก, สโลวีเนีย, อังกฤษ, อัมฮาริก, อาร์เซอร์ไบจัน, อาร์เมเนีย, อาหรับ, อิกโบ, อิตาลี, อุยกูร์, อุสเบกิสถาน, อูรดู, ฮังการี, ฮัวซา, ฮาวาย, ฮินดี, ฮีบรู, เกลิกสกอต, เกาหลี, เขมร, เคิร์ด, เช็ก, เซอร์เบียน, เซโซโท, เดนมาร์ก, เตลูกู, เติร์กเมน, เนปาล, เบงกอล, เบลารุส, เปอร์เซีย, เมารี, เมียนมา (พม่า), เยอรมัน, เวลส์, เวียดนาม, เอสเปอแรนโต, เอสโทเนีย, เฮติครีโอล, แอฟริกา, แอลเบเนีย, โคซา, โครเอเชีย, โชนา, โซมาลี, โปรตุเกส, โปแลนด์, โยรูบา, โรมาเนีย, โอเดีย (โอริยา), ไทย, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, การแปลภาษา.

Copyright ©2024 I Love Translation. All reserved.

E-mail: