จีนเป็นตลาดส่งออกผลไม้ที่สำคัญของไทย ทั้งนี้หลังจากการเปิดเสรีการค้าผักและผลไม้ตามพิกัดอัตราศุลกากรหมวดที่ 07-08 ระหว่างไทย-จีนในกรอบ FTA ASEAN- จีน ซึ่งเริ่มมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2003 เป็นต้นมาได้ส่งผลให้มีการขยายการค้าสินค้า ผักและผลไม้เพิ่มขึ้นด้วยจำนวนประชากรและเศรษฐกิจของประเทศจีนที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการลดภาษีนำเข้าผลไม้ตามข้อตกลงเหลือร้อยละ0 ตั้งแต่ปี2003 ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมากจากการส่งผลไม้ เมืองร้อนมายังตลาดจีน
จากสถิติตัวเลขการนำเข้าผลไม้ไทยผ่านมณฑลกวางตุ้ง ในช่วงปี2007-2009 ปริมาณการนำเข้าและมูลค่าได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ คือ การนำเข้าปี 2007 คิดเป็น 227,632 ตัน มูลค่า 187.5 ล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2008 คิดเป็น 282,831 ตัน มูลค่า 239.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และ ปี2009 คิดเป็น 476,413 ตัน มูลค่า 405.96 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยอัตราการขยายตัวในช่วงปี 2007 - 2009 ทางด้านปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.5%, 24% และ 68.4% และมูลค่าได้เพิ่ม ขึ้น 38%, 27.3% และ 69.6% ตามลำดับ
ปัจจุบันรัฐบาลจีนอนุญาตให้ผลไม้ไทยนำเข้าได้จำนวน 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย กล้วยไข่ลิ้นจี่ มะพร้าว มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ เงาะ สับปะรด ละมุด เสาวรส น้อยหน่า มะขาม ขนุน สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม ส้มโอ ตามลำดับ โดยผลไม้ที่ผู้บริโภคชาวจีนนิยมบริโภคมาก ได้แก่ ทุเรียน มังคุดลำไย กล้วยไข่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะม่วงน้ำดอกไม้ เงาะโรงเรียน ส้มโอ มะขามหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ผลไม้แปรรูป เช่น ลำไยอบแห้ง ทุเรียนทอดกรอบ/อบกรอบ กล้วยอบกรอบ ขนุนอบกรอบ สับปะรดอบกรอบและมะขามหวานแกะเมล็ด เป็นต้น ก็ได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคชาวจีนเช่นกัน
สำหรับช่องทางการนำเข้าผลไม้ไทยสู่ตลาดจีนส่วนใหญ่จะนำเข้าผ่านทาง ฮ่องกง - เซินเจิ้น -กวางโจว เนื่องจากการดำเนินพิธีศุลกากรในช่องทางนี้มีความสะดวก รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยหลังจากนั้นผลไม้ไทยจะถูกนำมาที่ตลาดกลางผลไม้เจียงหนาน แล้วจึงกระจาย ไปยังมณฑลและเมืองอื่นๆ ของจีนต่อไป ทั้งนี้รูปแบบการซื้อ-ขายผลไม้ไทยในตลาดกลาง ผลไม้เจียงหนานยังคงใช้ระบบการฝากขาย(Consignment) ซึ่งเป็นวิธีการค้าที่มีมาแต่ดั้งเดิมและต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าจีน โดยจะไม่มีการเปิด L/C จากนั้น ผู้นำเข้าจะนำผลไม้ไปขายต่อให้กับพ่อค้าจีนตามเมืองต่างๆในลักษณะเงินเชื่อ การค้ารูปแบบดังกล่าวมีข้อดีคือ ผลไม้ไทยได้อาศัยเครือข่ายหรืออิทธิพลของตัวกลางชาวจีนเหล่านี้ในการเข้าสู่ตลาดจีนโดยไม่ต้องสร้างเครือข่ายเอง แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ผลไม้ไทยต้องตกอยู่ภายใต้กลไกที่ผู้ประกอบการจีนเป็นผู้กำหนดไม่ว่าจะเป็นราคาซื้อ-ขาย ปริมาณและประเภทผลไม้นำเข้า
อย่างไรก็ตาม โอกาสของผลไม้ไทยในตลาดจีนยังมีโอกาสสูง เนื่องจากผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มมากขึ้นหลายชนิดและสามารถขยายตลาดไปตามเมืองต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้ผลไม้ไทยสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดเดิมสามารถขยายตลาดไปตามเมืองต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น และขยายโอกาสทางการค้าของผลไม้ไทยในตลาดจีน จึงควรมีการดำเนินการ ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการจำหน่ายผลไม้ไทย เพื่อให้ชาวจีนรู้จักและยอมรับในคุณภาพของผลไม้ไทยอย่างกว้างขวาง เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศจีน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายร่วมกับห้างสรรพสินค้า (In-store Promotion) การจัดงานส่งเสริม สินค้าไทยและผลไม้ไทย ในโอกาสพิเศษ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า เนื่องในโอกาสครบรอบ การสถาปนาความ สัมพันธ์ไทย-จีน เป็นต้น
2. การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออกผลไม้ไทยเข้ามาค้าขายในประเทศจีนอย่างเป็นระบบและเป็นมาตรฐานสากล คือ สามารถเป็นผู้นำเข้า ทำการตลาด และบริหารจัดการได้เองทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปทำการค้าร่วมกับผู้ประกอบการจีนในตลาดผลไม้ที่สำคัญตามเมืองและมณฑลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
3. การให้ความรู้ในวิธีการบริโภคและสารอาหารที่มีคุณคุณประโยชน์แก่ผู้บริโภคชาวจีนตลอดวิธีการถนอมคุณภาพของผลไม้ไทยแก่ผู้นำเข้าและผู้ประกอบการาชาวจีนเพื่อให้ผลไม้ไทยถึงมือผู้บริโภคในลักษณะยังคงคุณภาพดี เช่น การจัดทำแผ่นพับทบแจกในโอกาสต่างๆ และการขอความร่วมมือผู้ส่งออกไทยในการแนบคำธิบายหรือคำแนะนำไว้บนกล่องบรรจุผลไม้ที่ส่งออก
4. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า โรงงานบรรจุหีบห่อ ผู้ส่งออก และหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพื่อสร้างมั่นใจในคุณภาพให้แก่ผู้บริโภคชาวจีน
5. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-จีน ทั้งระดับผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการทั้งไทยและจีน
6. ผู้ส่งออกผลไม้ไทยจะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการนำเข้าของผู้ประกอบ การชาวจีนให้ถูกต้อง ชัดเจนและต้องหมั่นติดตามตรวจสอบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับของรัฐบาลจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เพราะหากเอกสารผิดพลาด หรือไม่ครบถ้วนก็จะทำให้ผลไม้ไทยไม่สามารถเ ข้ามาในประเทศจีนได้ และได้รับความเสียหาย
08/07 ระหว่างไทย - จีนในกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียนจีน 1 ตุลาคม 2003 ตั้งแต่ปี 2003
ในช่วงปี 2007-2009 คือการนำเข้าปี 2007 คิดเป็น 227,632 ตันมูลค่า 187.5 ล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2008 คิดเป็น 282,831 ตันมูลค่า 239.2 ล้านเหรียญสหรัฐและปี 2009 คิดเป็น 476,413 ตันมูลค่า 405.96 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับโดยอัตราการขยายตัวในช่วงปี 2007 - 2009 ทางด้านปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.5%, 24% และ 68.4% และมูลค่าได้เพิ่มขึ้น 38%, 27.3% และ 69.6% 23 ชนิด ได้แก่ ทุเรียนมังคุดลำไยกล้วยไข่ลิ้นจี่มะพร้าวมะละกอมะเฟืองมะม่วงฝรั่งชมพู่เงาะสับปะรดละมุดเสาวรสน้อยหน่ามะขามขนุนสละลองกองส้มเขียวหวานส้มส้มโอตามลำดับ ได้แก่ ทุเรียนมังคุดลำไยกล้วยไข่ชมพู่ทับทิมจันทร์มะม่วงน้ำดอกไม้เงาะโรงเรียนส้มโอมะขามหวานเป็นต้นนอกจากนี้ผลไม้แปรรูปเช่นลำไยอบแห้งทุเรียนทอดกรอบ / อบกรอบกล้วยอบกรอบขนุนอบกรอบสับปะรดอบกรอบและมะขามหวานแกะเมล็ดเป็นต้นก็ได้รับ ความนิยมจาก ฮ่องกง - เซินเจิ้น - กวางโจว แล้วจึงกระจายไปยังมณฑลและเมืองอื่น ๆ ของจีนต่อไป โดยจะไม่มีการเปิด L / C จากนั้น การค้ารูปแบบดังกล่าวมีข้อดีคือ แต่ก็มีข้อ จำกัด คือ ได้อย่างต่อเนื่องดังนั้น จึงควรมีการดำเนินการดังนี้1 เช่น (เก็บในโปรโมชั่น) การจัดงานส่งเสริมสินค้าไทยและผลไม้ไทยในโอกาสพิเศษเช่นการจัดงานแสดงสินค้าเนื่องในโอกาสครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย - จีนเป็นต้น2 คือสามารถเป็นผู้นำเข้าทำการตลาด เพิ่มมากขึ้น3 เช่นการจัดทำแผ่นพับทบแจกในโอกาสต่างๆ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ เกษตรกรพ่อค้าโรงงานบรรจุหีบห่อผู้ส่งออก ทั้งระดับผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการทั้งไทยและจีน6 การชาวจีนให้ถูกต้อง เพื่อจะได้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องเพราะหากเอกสารผิดพลาด ข้ามาในประเทศจีนได้และได้รับความเสียหาย
การแปล กรุณารอสักครู่..