สงครามและใบชา
ชาเดินทางจากจีนสู่ยุโรปครั้งแรกที่ฮอลแลนด์ ประมาณปี ค.ศ.1606 โดยเรือของบริษัทดัทช์อีสต์อินเดียของฮอลแลนด์ ในยุคนั้นใบชาเป็นของแพงและเป็นเครื่องดื่มเฉพาะในราชสำนักและชนชั้นสูง
ค.ศ.1652 ชาเข้าสู่อังกฤษ ได้รับความนิยมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ตลาดชาผูกขาดโดยบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษ ท่ามกลางความต้องการสูงแต่จีนกลับขายชาคุณภาพต่ำให้อังกฤษ และกระทำผ่านตัวแทนจักรพรรดิ์จีน จะแลกเปลี่ยนใบชากับเงินเท่านั้น อังกฤษจึงนำฝิ่นมาขายในจีน เพื่อแปรเป็นเงินซื้อใบชากลับไป
แต่กลับสร้างปัญหารุนแรงจนกระทั่งกลายเป็นสงครามฝิ่นระหว่างอังกฤษจีน (ค.ศ.1839-1842) จีนเสียเปรียบเรื่องอาวุธและเรือรบจึงพ่ายแพ้ ต้องยอมให้เกาะฮ่องกงตกเป็นเมืองเช่าในปกครองอังกฤษ นานถึง 156 ปี จึงกลับมาเป็นของจีนอีก เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1997
การเดินทางของชายังแผ่ขยายไปเรื่อยๆ วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษยังติดตัวไป เมื่อครั้งอพยพไปแสวงหาดินแดนโลกใหม่คือทวีปอเมริกา รัฐสภาอังกฤษเก็บภาษีใบชาคนอเมริกันสูงมาก (ขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ) ก่อเกิดความไม่พอใจและต่อต้าน ขนหีบชาทิ้งทะเล อันเป็นที่มาของชื่อ Boston tea Party สงครามครั้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นเอกราชไม่ขึ้นกับอังกฤษอีกต่อไป