แรงงานฝีมือไทยในสาขาวิชาชีพที่สำคัญและมีความขาดแคลน รวมทั้งใน 7 สาขาวิชาชีพที่ได้ทำข้อตกลง MRAs ร่วมกันแล้วคือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ และนักบัญชี และ กลุ่มอาชีพที่เพิ่มขึ้นมาคือคือการท่องเที่ยว
อาจจะถูกแย่งงานหรือลดบทบาทในการทำงานลง รวมทั้งการเข้ามาทดแทนของแรงงานที่มีค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าไทย เพราะข้อจำกัดทางด้านภาษาที่แรงงานไทยนั้นและอีกหลายๆส่วนยัง มีปัญหา และค่าตอบแทนที่ไม่เท่ากันของแต่ละประเทศ ที่แตกต่างกันเช่นในแรงงานไทยที่ค่าแรงสูงกว่าแรงงานพม่า ลาว และกัมพูชา ดังนั้นจะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานเพราะอุตสาหกรรมบางประเภทอาจได้รับผลกระทบจากการไหลเข้าของแรงงานที่มาจากประเทศอื่นซึ่ง เข้ามาแข่งขันในอีกประเทศหนึ่ง เช่นแรงงานลาวและพม่า กัมพูชา ที่จะเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น นายจ้างจะมีทางเลือกที่จะจ้างแรงงานของประชากรอาเซียนในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีค่าแรงถูกกว่า เกิดปัญหาระหว่างคนในชาติและชาวต่างชาติ และทำให้เกิดปัญหาการเหยียดเชื้อชาติตามมา และบุคลากรวิชาชีพบางส่วนของไทยอาจจะมีการเคลื่อนย้ายออกไปทำงานต่างประเทศจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดความขาดแคลนในประเทศเอง
และการพัฒนาแรงงานของแต่ละประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเปิดตลาดการค้าเสรี เป็นเรื่องยากเพราะจำนวนประชากรที่เยอะ และมาตรฐานการศึกษาที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น แรงงานที่มาจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย เมื่อเทียบกับไทยนั้นมีคุณภาพมากกว่า และเพื่อจะแก้ปัญหานั้น ทำให้ต้องใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาและปฏิรูปการศึกษา ที่ล่าช้าเพราะต้องใช้เวลาหลายปี อาจสร้างปัญหาให้เศรษฐกิจของภูมิภาค
ไม่เห็นด้วยเพราะ แรงงานที่สำคัญอาจถูกลดบทบาท ค่าแรงที่แตกต่างทำให้เกิดความคลาดแคลนบุคลากร
และการศึกษาที่ยังไม่พร้อมของประเทศในภูมิภาค