ศูนย์กลางของระบบสุริยะก็คือดวงอาทิตย์(The Sun) นักดาราศาสตร์แบ่งเทหวัตถุฟากฟ้าออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มดาวส่วนใน(The Inner Planets ยกเว้นดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวฤกษ์) ซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์(Sun) ดาวพุธ(Mercury) ดาวศุกร์(Venus) โลก (Earth) ดวงจันทร์(Luna) ดาวอังคาร(Mars) และ กลุ่มดาวส่วนนอก (The Outer Planets) ซึ่งประกอบด้วย ดาวพฤหัส(Jupiter) ดาวเสาร์(Saturn) ดาวมฤตยู(Uranus) ดาวเกตุ(Neptune) ดาวพระยม(Pluto) และดาวดวงใหม่ นิบิรุ(Nibiru) เทหวัตถุฟากฟ้าเหล่านี้รวมกันเป็นกลุ่มดาวด้วยแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และ แรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ทำให้ทั้งมวลระบบเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆในอวกาศที่เวิ้งว้างหาขอบเขตมิได้(ไม่ ทราบจุดหมายนอกจากพระเป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้น) ที่สามารถรวมเป็นกลุ่มอยู่ได้นั้นนอกจากถูกแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงที่ดุล กันทำให้ดาวต่างๆเคลื่อนไหวด้วยเส้นทางโคจรของตน ส่วนใหญ่เป็นรูปวงกลม ยกเว้นบางดวงที่โคจรเป็นรูปวงรี เช่นดาวNibiru Planet X ที่รีมากจนกว่าจะครบรอบวงโคจรต้องใช้เวลานานเกือบ 3,600 ปี ซึ่งขณะนี้ข้อมูลเพิ่มเติมทางดาราศาสตร์ระบุว่า Nibiru น่าจะไม่ใช่ดาวเคราะห์(Planet) แต่เป็น dwarf star หรือดาวฤกษ์แคระ(ดาวฤกษ์ที่อ่อนแสงลงจนปฏิกิริยาไฮโดรเยนสลายใกล้จะหมดสิ้น แล้ว) และเท่าที่เห็นผ่านกล้องโทรทรรศน์อีเล็กโทรนิกทางไกล ดูจะมีดาวบริวารหลายดวงทำนองเป็น”ระบบสุริยะ”ด้วย และ Planet X ก็เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของระบบ Nibiru ระบบNibiru ที่โคจรนอกเส้นโคจรของดาวพลูโตและโคจรเป็นรูปวงรีนั้น ส่วนใหญ่จะโคจรห่างออกไปไกลจากระบบสุริยะจักรวาล แต่ที่น่ากลัวก็คือเมื่อกลุ่มดาว Nibiru โคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ และก็แน่นอนอยู่แล้วที่จะผ่านมาใกล้โลกมนุษย์