เศรษฐกิจของประเทศเมียนมาร์
สภาพเศรษฐกิจ : พม่าประกาศนโยบายตั้งแต่เข้ายึดอำนาจการปกครองใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจพม่าจากระบบวางแผนส่วนกลาง (centrally-planned economy) เป็นระบบตลาดเปิดประเทศรองรับและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอก ส่งเสริมการส่งออก การท่องเที่ยว และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาค แต่ในทางปฏิบัติ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของพม่าไม่คืบหน้า รัฐบาลพม่าไม่ได้ดำเนินการในทิศทางดังกล่าวอย่างเต็มที่ รัฐบาลยังคงคุมและแทรกแซงภาคการผลิตต่างๆ อย่างเข้มงวด มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนบ่อยครั้งปัจจุบัน แม้ว่ารัฐบาลพม่ายังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ที่สำคัญเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจมหภาค แต่พยายามเร่งการพัฒนาภาคการเกษตร การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การนำทรัพยากรมาใช้ (โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติและพลังน้ำ) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านเกษตรกรรม รัฐบาลพม่าให้ความสำคัญต่อการผลิตและส่งออกผลผลิตถั่ว ข้าว ยางพารา ฯลฯ โดยสภาการค้า (Trade Council) ภายใต้การกำกับการของรองพลเอกอาวุโส หม่อง เอ ได้ปรับระบบการส่งออกถั่วขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและจูงใจให้ เกษตรกร ขยายการเพาะปลูก และรัฐบาลพม่าพยายามส่งเสริมโครงการปลูกข้าวเพื่อการส่งออก
การลงทุนด้านพลังงานในพม่าเป็นแหล่งรายได้จากต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของ พม่าในปี 2547 – 2548 รัฐบาลพม่าได้ลงนามการสำรวจก๊าซธรรมชาติกับบริษัทเอกชนต่างประเทศหลายราย อาทิ จีน ไทย (ปตท.สผ.) อินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี ปัจจุบันการลงทุนด้านพลังงานในพม่ามีสัดส่วนประมาณร้อยละ 88 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในพม่า มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 และ 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 นอกจากนั้น รัฐบาลพม่าเตรียมจะเปิดพื้นที่แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลให้เอกชน ต่างชาติลงทุนสำรวจและขุดเจาะเพิ่มอีก 13 แปลง (ยังคงสงวนแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกไว้สำหรับวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติของพม่า) ขณะเดียวกัน ก็เริ่มความร่วมมือด้านไฟฟ้าพลังน้ำกับ
ไทยและจีน ซึ่งเป็นโครงการที่พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์
สภาพเศรษฐกิจ : อยู่ในเกณฑ์ดีฐานะการคลังปรับตัวดีขึ้น โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทั้งนี้รายได้จากกรมสรรพากร (Bureau of Internal Revenue: BIR) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของรายได้รวมของรัฐบาล ส่งผลให้มีความเป็นไปได้สูงว่าการขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าซึ่ง ตั้งไว้ที่ร้อยละ 4.7 ของ GDP หรือ 202 พันล้านเปโซ
ส่วนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม และการจ้างงานนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลจะลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข การสร้างงาน รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะให้มีงบประมาณสมดุลในปี 2551 ในปี 2549 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 5.4 และมีแนวโน้มที่ดีทั้งในตลาดหุ้น การส่งออก การลงทุน การจ้างงาน และความเชื่อมั่นทาง
เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลยืนยัน
2. แผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ของฟิลิปปินส์ตามถ้อยแถลงของประธานาธิบดีอาร์โรโย เมื่อ 24 กรกฎาคม 2549 จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการแบ่งเขตที่จะพัฒนาออกเป็น 5 เขต (Mega Regions) คือ ลูซอนเหนือ เมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์กลาง มินดาเนา และไซเบอร์ คอร์ริดอร์ เพื่อให้สามารถทุ่มงบประมาณเข้าไปพัฒนาพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจตรงเป้าหมาย และครอบคลุม รวมทั้งเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์พยายามลดเงื่อนไขที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจใน ฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นการ
ลงทุนและการค้า โดยเฉพาะด้าน การท่องเที่ยวและการส่งออก
3. ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ คือ แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศเพิ่มขึ้น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินทุนสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกและธุรกิจภาคบริการขยายตัว และอัตราเงินเฟ้อลดลง
4. ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง