• ชื่อภาษาไทย
จังหวัดขอนแก่น
• ชื่อภาษาอังกฤษ
Khon Kaen
• คำย่อชื่อจังหวัด
ขก
• คำขวัญจังหวัด
พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวบึงแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์ลือก้อง เหรียญทองมวยโอลิมปิค
• รายชื่อเขต/อำเภอ
o อำเภอ ภูผาม่าน Amphoe Phu Pha Man
o กิ่งอำเภอ โคกโพธิ์ไชย King Amphoe Kok Pho Chai
o อำเภอ ภูเวียง Amphoe Phu Wiang
o อำเภอ หนองสองห้อง Amphoe Nong Song Hong
o อำเภอ พระยืน Amphoe Phra Yuen
o อำเภอ พล Amphoe Phon
o อำเภอ แวงน้อย Amphoe Waeng Noi
o กิ่งอำเภอ หนองนาคำ King Amphoe Nong Na Kham
o อำเภอ แวงใหญ่ Amphoe Waeng Yai
o อำเภอ เปือยน้อย Amphoe Pueai Noi
• ตราสัญลักษณ์จังหวัด
• แผนที่จังหวัด
จังหวัดขอนแก่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ขอนแก่น" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ขอนแก่น (แก้ความกำกวม)
จังหวัดขอนแก่น
ตราประจำจังหวัด
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด
พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ขอนแก่น
ชื่ออักษรโรมัน Khon Kaen
ผู้ว่าราชการ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2555)
ISO 3166-2
TH-40
สีประจำกลุ่มจังหวัด ███ สีเหลือง
ต้นไม้ประจำจังหวัด ชัยพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัด ราชพฤกษ์ (คูน)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 10,885.991 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 15)
ประชากร 1,774,816 คน[2] (พ.ศ. 2555)
(อันดับที่ 4)
ความหนาแน่น
163.04 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 22)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ (+66) 0 4323 6882, 0 4333 0297
เว็บไซต์
จังหวัดขอนแก่น
แผนที่
________________________________________
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่รองจากจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี ชัยภูมิ และอุดรธานีตามลำดับ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 ประวัติศาสตร์
o 1.1 การตั้งถิ่นฐาน
o 1.2 การย้ายถิ่นฐานเมืองขอนแก่น
o 1.3 ที่มาของชื่อขอนแก่น
• 2 ภูมิศาสตร์
o 2.1 ภูมิประเทศ
2.1.1 อาณาเขตติดต่อ
o 2.2 ภูมิอากาศ
• 3 หน่วยการปกครอง
• 4 ประชากร
• 5 สถานที่ท่องเที่ยวในขอนแก่น
o 5.1 แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี
o 5.2 แหล่งเรียนรู้
o 5.3 สวนสาธารณะ
o 5.4 งานประเพณีและงานเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ
• 6 บุคคลมีชื่อเสียง
o 6.1 พระภิกษุ
o 6.2 ข้าราชการการเมือง
o 6.3 ข้าราชการตำรวจ
o 6.4 ข้าราชการพลเรือน
o 6.5 วงการกีฬา
o 6.6 วงการบันเทิง
o 6.7 วงการสื่อสารมวลชน
o 6.8 นักเขียน กวี
• 7 อุทยานแห่งชาติ
• 8 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
• 9 การศึกษา
• 10 วิทยาลัยอาชีวศึกษารัฐบาล
• 11 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน
• 12 อ้างอิง
• 13 ดูเพิ่ม
• 14 แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติศาสตร์[แก้]
การตั้งถิ่นฐาน[แก้]
แม้ขอนแก่นจะเป็นบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้ก็ตาม แต่ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยมีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอาศัยก่อนแล้ว เช่น การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง พบว่ามีเครี่องปั้นดินเผาที่มีอายุยาวนาน ต่อมาชุมชนเหล่านี้กลายเป็นเมืองขึ้นในสมัยทวารวดี ก่อนที่ขอมจะมามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้ เช่น พบแหล่งโบราณคดีที่วัดศรีเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งปรากฏจารึกศรีเมืองแอมที่ขอมได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้หรือที่ปรากฏเป็นปรางค์กู่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ พื้นที่ส่วนนี้ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันตามพื้นที่ราบสูง ในปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย
เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับพระยาเมืองแพน (หรือเพี้ยเมืองแพน) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ เขตแขวงเมืองทุละคม (ธุระคม) ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ในทุกวันนี้ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่บ้านโพธิ์ตาก (บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโนน อำเภอกระนวน) บ้านโพธิ์ชัย (บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี) เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเชษ (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ. 2439-2443และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรีในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย ในห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) บ้านสร้าง บ้านชีโหล่น (อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน)
ในปัจจุบัน บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ (จังหวัดร้อยเอ็ด) บางบ้านก็อยู่ในเขตจังหวัดยโสธร บางบ้านก็อยู่ที่อำเภอมัญจาคีรี และบางบ้านก็อยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองในสมัยหลัง ๆ ต่อมานั่นเอง
เจ้าแก้วบุฮมได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธ