1.1 ด้านร่างกายและจิตใจ จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ บาดเจ็บประมาณ 8,419 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิต 3,193 คนและบาดเจ็บ 5,226 คน2 นอกจากนี้ได้ ส่งผลด้านสุขภาพจิต ทำให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งพยาบาลขาดขวัญและกำลังใจ3 ทำให้มี ความรู้สึกเศร้าใจ ท้อแท้ในการดำเนินชีวิต หดหู่กับการพบเห็นและรับรู้เหตุการณ์ หวาดระแวงในการ ดำเนินชีวิตและวิตกกังวล4,5 จากการสุ่มตัวอย่างสอบถามประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 510 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม–ธันวาคม 2547 พบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตที่มีสาเหตุจากความ วิตกกังวล ความเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้วิตก กังวลทั่วไป กลุ่มโรคซึมเศร้า และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเครียดรุนแรง ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดนี้ พบมาก ที่สุดที่จังหวัดยะลา โดยมีผู้ป่วยอาการเครียดรุนแรงสูงถึง 20.2% กลุ่มผู้วิตกกังวลทั่วไป 8.1% กลุ่ม ผู้ป่วยซึมเศร้า 7.1% ส่วนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบว่าผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ป่วยอาการเครียดรุนแรง เท่ากันอยู่ที่ 7.7% ผู้ป่วยวิตกกังวลทั่วไปมีเพียง 4.9% สำหรับจังหวัดนราธิวาส มีกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้า 5.4% ผู้ป่วยเครียดรุนแรง 5.0% และกลุ่มผู้ป่วยวิตกกังวล 3% ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้สุ่มตัวอย่างจาก ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รัศมีจุดเกิดเหตุ 1.5 กิโลเมตร6 และยังพบความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือน ขวัญ คือมีการแสดงออกโดยมีอาการวิตกกังวล รู้สึกสับสนหรือแยกส่วนและอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังประสบเหตุการณ์ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาทางจิตใจอย่างรุนแรง ได้ในอนาคต เช่น ภาวะเครียดภายหลังการบาดเจ็บทางจิตใจ (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) จากการสำรวจทางระบาดวิทยาของกรมสุขภาพจิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดน ใต้ พบ PTSD ประมาณร้อยละ 10 และมีการระบาดของ PTSD อยู่ที่ร้อยละ 15-25 ของคนที่เผชิญกับ เหตุการณ์สะเทือนขวัญ
1.2 ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเดิมมีการออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ ไม่กล้าไปออกกำลังกาย ทำให้การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงทำ