รายละเอียดของการก่อสร้าง
เมื่อ พ.ศ. 2530 นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นปีเฉลิมพระเกียรติแต่พระเจ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นปีท่องเที่ยวไทย สมควรจะได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุให้เป็นกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างกำแพงและซุ้มประตูเมืองนครราชสีมาอีก 3 ประตู ซึ่งหักพัง และถูกรื้อสูญไปแล้ว ให้มีครบทั้ง 4 ประตู ตามที่เคยมีมาตั้งแต่โบราณ
ขั้นตอนในการก่อสร้าง
ขั้นตอนที่ 1
การคัดเลือกสถานที่ก่อสร้าง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกสถานที่ขึ้น ประกอบด้วยนายเด็ดดวง สุคนธรัตน์ นายกเทศมนตรีเมืองนครราชสีมา เป็นประธาน นายสถิตย์ ภักดิ์ศรีแพง หัวหน้าฝ่ายบริหาร สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ศึกษาและค้นคว้าประวัติ และตำนานของเมืองนครราชสีมา และกำหนดจุดก่อสร้างให้ตรงตามประวัติและสถานที่ดั่งเดิม และประสานขอใช้สถานที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาของคณะกรรมการ จึงได้กำหนดจุดก่อสร้างประตูทั้งสาม ดังนี้
ก่อสร้างประตูพลแสน ที่บริเวณด้านในคูเมือง ด้านทิศเหนือ ตรงใกล้สี่แยกถนนพลแสนตัดกับถนนประจักษ์
ก่อสร้างประตูไชยณรงค์ ที่บริเวณด้านในคูเมือง ด้านทิศใต้ ตรงบริเวณใกล้ห้าแยกราชนิกูล
ก่อสร้างประตูพลล้าน ที่บริเวณด้านในคูเมือง ด้านทิศตะวันออก ตรงใกล้สี่แยกถนนจอมพลตัดกับถนนพลล้าน
ขั้นตอนที่ 2
การออกแบบก่อสร้าง ประมาณการก่อสร้างประมาณประตูละ 1.3 ล้านบาทเศษ
ขั้นตอนที่ 3
การจัดหาทุนก่อสร้าง โดยมีผู้มาบริจาคเงินมากมาย
ขั้นตอนที่ 4
เริ่มลงมือก่อสร้าง