ดอกไม้ประจำชาติอาเซี่ยนทั้ง 10 ประเทศ
การรวมตัวของประเทศกลุ่มอาเซี่ยนทั้ง 10 ประเทศ มีจุดประสงค์เพื่ีอผนึกกำลังในการพัฒนาแต่ละประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยเข้าร่วมด้วย ซึ่งในแต่ละประเทศได้มีดอกไม้ประจำชาติ เพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศ ดังนี้
1. ประเทศบรูไนการุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) ดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกซิมเปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) เป็นดอกไม้ประจำท้องถิ่นของบูรไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีสักษณะคล้ายร่ม ซึ่งจะพบได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล สัญลักษณ์นี้จะพบได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองทั่วไป
2. ประเทศกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกลำดวน (Rumdul) มีสีขาวอมเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นกรุ่น ถูกจัดให้เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วย
3. ประเทศสารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นดอกไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่ง และอยู่ได้นานถึง 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรี สามารถเจริญเติบโตในอากาศชื้น จึงพบได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
4. ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Rebublic) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้น เป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า ดอกบุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะของกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย
6. ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguito Jasmine) ลักษณะดอกเป็นสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นหอมในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกน้ำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่า รวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน
7. ประเทศสารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) โดยกล้วยไม้แวนด้า ตั้งชื่อขึ้นมาจากผู้ที่คิดค้นผสมพันธุ์กล้วยไม้ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงาม และเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
8. ประเทศราชอาณาจักรไทย (Kingfom of Thailand) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ คือสีแห่งพระพุทธศสานา และความรุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์ จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม มีจุดเด่นเมื่อดอกเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น
9. ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกบัว (Lotus) โดยดอกบัว เป็นที่รู้จักกันในนาม "ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ" เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมือง ของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง
10. ประเทศสหภาพพม่า (Union of Myanmar) ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่า
อ้างอิงข้อมูลจาก http://aec.kapook.com/view50379.html
ภาพประกอบจาก treknature.com,angkorandpeople.com,;hilamfood.com,myanmars.net