จากกการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ ที่อยู่อาศัยกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ไม่ใช่สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าp-value วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของ เพศ ที่อยู่อาศัย และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง โดยใช้Pearson Chi-square
ผลการวิจัยพบว่า
1.ความรู้โรคอุจจาระร่วงโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81
2. พฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง โดยรวมอยู่ในระดับดับปานกลาง ร้อยละ 68.8
3.ความรู้โรคอุจจาระร่วงกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง มีความสัมพันธ์กัน พบว่าChi-square มีค่าเท่ากับ 11.552 (0.021) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value = 0.021)
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงมีความสัมพันธ์กัน โดยที่เพศชายมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงดีกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5.ปัจจัยส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัย มีพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เนื่องจากนิสิตชั้นปีที่1มหาวิทยาลัยพะเยามีพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงร้อยละ 68.8 อยู่ในระดับปานกลางดังนั้นควรมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยา และส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องโรคอุจจาระร่วงด้านการบริโภคอาหารและสิ่งแวดล้อมโดยจำแนกตามเพศและที่อยู่อาศัย เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยามีความเข้าใจและปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงแก่ตนเองและครอบครัว
คำสำคัญ : โรคอุจจาระร่วง, พฤติกรรมการป้องกัน, ความรู้