สุขภาพกับคุณภาพชีวิตที่ดี คือ การมีอายุยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัยทำให้มีอายุยืนยาวเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากคุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health) โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) สุขภาพทางกาย (Physical Health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2) สุขภาพทางจิต (Mental Health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” 3) สุขภาพทางสังคม (Social Health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน
การที่จะมีสุขภาพที่ดีต้องประกอบไปด้วยการดูแลดังต่อไปนี้
• อาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือ รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น ลดอาหารที่มีน้ำตาล ลดอาหารเค็ม
• รักษาน้ำหนักที่เหมาะสม ควรที่จะรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกต ิคือดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 20-20 กก./ตารางเมตร หากต่ำกว่านี้ร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หากมากกว่านี้อาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด
การออกกำลังกาย คือกิจกรรมที่ทีกระทำแล้วทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี การออกกำลังให้สุขภาพดีไม่ต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละครึ่งชั่วโมงก็พอ ก็มีสุขภาพที่ดี
• การตรวจสุขภาพ ควรมรการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 เพื่อสุขภาพที่ดี
การจัดการกับความเครียด ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาการมีความเครียดไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ