วิถีชีวิตความเป็นอยู่
สังคมมาเลเซียมีลักษณ์เป็น พหุสังคม (Multiracial Society) ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ มาเลย์ จีน และอินเดียแต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างทางภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่
พหุสังคม หรือ สังคมหลากวัฒนธรรม (Multiracial Society) หมายถึงกลุ่มคนที่แยกย่อยออกเป็นกลุ่มภาษา กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มศาสนา หรือกลุ่มเชื้อชาติต่างๆหลากหลายกลุ่ม
ประชากรมาเลเซียส่วนที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูร้อยละ 82 อาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตก รองลงมาคือ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบนเกาะบอร์เนียวมีประชากรอยู่หนาแน่นบริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของรับชาราวัก
จำนวนประชากรแต่ละเชื้อชาติของประเทสมาเลเซีย
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์เชื้อสายอินเดียร้อยละ 50.4 ชาว มาเลย์เชื้อสายจีนร้อยละ 23.7 และชาวมาเลย์เชื้อสายอินเดียร้อยละ 7.1 (ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ) นอกจากนี้ยังมีชาวมาเลย์สายไทย เชื้อสายโปรตุเกสเชื้อสายฮอลันดา และเชื้อสายอังกฤษรวมอยู่ด้วย
ชนกลุ่มแรกในแหลมมาลายู ได้แก่ ชาวโอรังอัสลี (Orang Asli) ชื่อนี้เป็นภาษามาเลย์ แปลว่า ชนชาติดั้งเดิม ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มและเผ่าเล็กเผ่าน้อยอีกกว่า 20 เผ่า เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ชั้นบน มีบางส่วนอาศัยอยู่ตามชานเมือง ชาวโอรังอัสลีมีรูปร่างเตี้ย ผิวดำ ริมฝีปากหนา ผมหยิบขอดแบบชาติพันธุ์นิกรอยด์ เรารู้จักกันในชื่อว่า “ซาไก”
ชนกลุ่มแรกในแหลมมาลายู ซาไก
ในประเทศไทยก็มีชาวซาไกอยู่เช่นเดียวกัน โดยกระจายอยู่ในจังหวัดยะลานราธิวาส ตรัง พัทลุง และสตูล กลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะเล ซึ่งได้รับพระราชทานนานสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีว่า "ศรีธารโต"
หรือชาวมาเลย์มุสลิม คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามพูดภาษามลายู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาประจำชาติและปฏิบัติตามกฎธรรมเนียมของชาวมาเลย์ ชาวมาเลย์กลุ่มนี้มีความผูกพันกับแผ่นดินเกิดจนเรียกตนเองว่า ภูมิบุตร หรือบุตรของแผ่นดิน
ชาวมาเลย์เป็นคนใจกว้าง เอื้อเฟื้อ ยิ้มง่าย และมีอารมณ์ขัน ชาวมาเลย์ในชนบนจะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทำไร่ทำนา และรักใคร่กลมเกลียวกันในหมู่คนบ้านเดียวกัน ขณะที่ชาวมาเลย์ในเมืองจะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากในชนบนมาก แต่เพราะมีความเชื่อในศาสนาเดียวกัน ชาวมาเลย์จึงยังคงความเป็นหนึ่งเดียว หลักศาสนาอิสลามทำให้ชาวมาเลย์แตกต่างจากคนมาเลเซียกลุ่มอื่นๆ ไม่มีการแต่งงานข้ามชาติมากนัก แม้จะยอมรับมุสลิมชาติอื่นๆ ก็ตาม จึงทำให้เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมาเลย์มุสลิมยังคงโดดเด่นไม่เหมือนใคร
ชาวอินเดีย คนอินเดียเข้าทำมาในคาบสมุทรมลายูเมื่อราว 1,000 ปีมาแล้ว หรือในช่วงคริสต์สตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่มาจากอินเดียตอนใต้ประมารร้อยละ 80 เป็นชาวทมิฬ เข้ามาทำอาชีพกรีดยางหรือเป็นคนงานในไร่ ปัจจุบันชาวอินเดียส่วนใหญ่อยู่ในรัฐสลังงอร์เประ และปีนัง ชาวอินเดเยได้นำวัฒนธรรมหลากเข้ามาในมาเลเซีย เช่น เครื่องแต่งกายที่เป็นส่าหรีไหมสีสด อาหารอินเดีย การร้องรำทำเพลง รวมทั้งหลักศาสนาฮินดู
ชาวจีน มีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด มีบทบาทในการควบคุมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมหลัก เช่น ยางและดีบุก ชาวจีนเข้ามาค้าขายตามเกาะต่างๆบนคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะชวาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยเข้ามาทำงานในเหมือง ดีบุก ทำถนน และ ทางรถไฟ
ตามกฎหมายของมาเลเซีย ทุกคนต้องเรียนภาษามลายู แต่เมื่อชาวจีนอยู่บ้านจะพุดภาษาจีนกลางหรือภาษาท้องถิ่น ชาวจีนยึดมั่นในการพึ่งตนเองและมีความขยันขันแข็ง ให้ความสำคัญกับครอบครัวและความผูกพันในพวกพ้อง ชาวจีนในมาเลเซียนับถือลัทธิเต๋าและขงจื๊อ