จากการศึกษา พบว่า การกวนข้าวทิพย์มีร่องรอยปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เจือปนมีกรรมวิธีการในการหุง มีส่วนผสมมีน้ำนมเป็นหลักเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสวยอาหารที่เรียกว่าข้าวมธุปายาส หรือข้าวทิพย์ที่สมัยปัจจุบันเรียกทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้ ดังนั้นสมัยปัจจุบันนี้เมื่อจะทำพิธีกวนข้าวทิพย์จึงต้องอ้างอิงเรื่องนางสุชาดาเป็นเจ้าตำหรับคนแรกที่ได้นำข้าวทิพย์ไปถวายพระมหาบุรุษ มีหลักฐานปรากฏชัดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงให้มีพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์ในพระราชวัง โดยมีพระน้องนางเธอ พระเจ้าลูกเธอเป็นสาวพรหมจรรย์ในการกวน
ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความศรัทธาความเชื่อที่ยังมีอยู่ ของประชาชนทั่วไป และผู้นำในชุมชนที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ เพราะต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนจำนวนมาก ในการเตรียมการ การจัดหาอุปกรณ์ในการกวน แรงงานในการกวน และการเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินที่ใช้ในการจัดซื้อจัดหาสิ่งของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลข้างต้นในปัจจุบันบางวัด บางท้องที่จึงเลิกประเพณีกวนข้าวทิพย์นี้ไป เพราะขาดความพร้อมในเรื่องต่างๆ จากคติศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยได้ขนานนาม“ข้าวมธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวกระยาทิพย์” หรือ “ข้าวทิพย์”
พิธีการกวนข้าวทิพย์ ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงข้าวปัจจุบัน ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ ๑ วัน โดยถือหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎก คือ การถวายข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา ข้าวมธุปายาสประกอบด้วยปัญจโครส คือ ๑ นมโค ๒.ข้าวสุก ๓.น้ำผึ้งข้าว ๔.กะทิ ๕.นมข้น นมจืด น้ำตาล ๖.น้ำอ้อย ๗.งา ๘.ถั่วลิสง ๙.ลูกเดือย เผือก มันเทศ มธุปายาสเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ก่อนการตรัสรู้ได้เสวยข้าวมธุปายาสทุกพระองค์ เป็นอาหารอันประณีตไม่มีเนื้อสัตว์เป็นโภชนะที่เลิศรส