อิทธิพลต่อวรรณกรรมและวรรณคดีไทย ได้แก่ รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ซึ่งพบว่ามีเนื้อเรื่องหลายตอนต่างไปจากรามายณะของวาลมิกิแต่มีเนื้อความส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับรามยณัม กัมบัร อันเป็นรามายณะฉบับอินเดียใต้เมื่อไทยรับมา ไทยก็ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนเป็นลักษณะแบบไทย ๆ เช่น การเปลี่ยนชื่อของตัวละคร ลักษมัน ไทยเปลี่ยนเป็นพระลักษณ์ ไกเกยี เป็นไกเกสี พระราวณะเป็นทศกัณฑ์ เป็นต้นหนุมานตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่รามเกียรติ์ของไทยหนุมานมีเมียได้ มหาภารตะยุทธเป็นความเชื่อเกี่ยวกับการอวตารของพระวิษณุเป็นพระกฤษณะ ไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับพระกฤษณะน้อยอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการรบในสงครามและมีคำสอนเกี่ยวกับปรัชญาเรื่องอาตมัน นอกจากนั้นยังมีเทวปาง นารายณ์สิบปาง และ นารายณ์ยี่สิบปาง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับตำราภาพเทวรูป จิตรกรรมต่างๆและที่สำคัญมีหลักฐานกล่าวไว้ในตอนท้ายของเรื่องว่า แปลมาจากอักษรคฤนถ์ ซึ่งเป็นอักษรของทมิฬทางอินเดียใต้ ส่วนวรรณคดี ได้แก่ กฎหมายตราสามดวง นางนพมาศ โคลงยอพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อภิไทโพธิบาท เป็นต้น