ความเชื่อของคนภาคเหนือ
“ผี” (ghost)เป็นรูปแบบทางความคิดและเชื่อที่มีปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วทุกมุมโลกมาเป็นระยะเวลาเนิ่นนานแล้ว ในประเทศไทยของเราเองก็ปรากฏว่ามีความเชื่อในเรื่องอันเกี่ยวเนื่องกับผีอยู่ทุกภาค บ้างก็เชื่อกันว่าผีนี้มีทั้ง “ผีดี”, “ผีบรรพบุรุษ”(ancestor worship) และ “ผีร้าย”(demon worship) ผีดี,ผีบรรพบุรุษ เช่น “ผีปู่ย่า”ของทางภาคเหนือ “ผีปู่ย่าตายาย”ของทางภาคกลาง “ผีปู่ตา”ของทางภาคอีสาน “ผีตายาย”ของทางภาคใต้ เป็นอาทิ ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรานี้ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับผีอยู่อย่างหลากหลายจำพวก และหนึ่งในกระบวนที่เป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนานนั้นก็คือผีชนิดหนึ่งที่ชาวไทยภาคเหนือเรียกขานกันว่า “ผีโป๊กกะโหล้ง” ผมเคยเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดต่างๆในภาคเหนือของประเทศไทยหลายครั้ง และเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่ของที่นั่นเล่าขานตำนานและความเชื่อในเรื่องของผีโป๊กกะโหล้งกันว่า ผีโป๊กกะโหล้งเป็นผีที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในป่าทึบของทางภาคเหนือ มันมีรูปร่างใหญ่โตพอๆกันกับคนปกติธรรมดาโดยทั่วไปแต่ไม่ใส่เสื้อผ้าประมาณว่าเป็นคล้ายๆกับชีเปลือย และผีตองเหลือง หน้าตาน่ากลัวไว้ผมยาวรุงรัง มีทั้งเพศชายและเพศหญิง กินกุ้งหอยปูปลาและสัตว์เล็กๆในป่าเป็นอาหารโดยจะกินกันแบบสดๆดิบๆ ผีโป๊กกะโหล้งเคลื่อนไหวตัวได้อย่างรวดเร็วละเบามาก เชื่อกันว่าไม่มีใครสามารถไล่จับหรือไล่ตามมันได้ทัน นอกจากนี้มันยังชอบหลอกล่อคนที่เดินป่าโดยการทำเสียงประหลาดๆในยามค่ำคืนให้คนตกใจกลัวเล่น อีกทั้งมันยังชอบหลอกให้คนเดินหลงทางเข้าไปในป่าลึก บางคนเดินจนหัวหมุนกว่าจะกลับออกจากป่ามาได้ก็มี จึงมีกฎข้อห้ามอยู่ข้อหนึ่งยามเดินป่าอันถือเป็นความเชื่อของชาวไทยภาคเหนือว่า ห้ามเรียกชื่อกันในป่าเพราะเชื่อว่าหากเรียกชื่อกันในป่าแล้วจะทำให้ผีโป๊กกะโหล้งจำเอาไปแกล้ง เช่น ทำเสียงหลอกเจ้าของชื่อให้หลงเชื่อจนเดินตามหลงทางเข้าสู่ป่าลึกได้ เป็นต้น แต่ผีโป๊กกะโหล้งก็ยังมีข้อดีอยู่บ้าง เช่น เชื่อกันว่ามันเป็นผีที่ช่วยปกป้องคุ้มครองป่าเขา ช่วยดลบันดาลให้ฝนตกยังผลให้แม่น้ำและป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไม่มีใครกล้าเข้าไปตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
มื้อจั๋นวันดี สำหรับชาวเหนือก่อนจะปลูกเรือน ฤกษ์งามยามดีเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเชื่อกันว่า หากปลูก
เรือนใน "มื้อจั๋น วันดี" คือฤกษ์ที่เหมาะสมแล้วผู้อยู่อาศัยย่อมมีความสุขความเจริญและอยู่เย็นเป็นสุขและครอบคลุมถึง
การหาฤกษ์ยามดีในขั้นตอนการปลูกเรือนอื่น ๆ เช่น เข้าป่าหาไม้มาทำเสาเรือน ขุดหลุมฝังเสา ยกเสา เป็นต้น
การเข้าป่าตัดไม้ทำเสา ตามคติโบราณจะกำหนดช่วงเวลาที่เป็นมงคลเอาไว้ว่าควรจะตัดไม้ในเดือนใดเมื่อ
ตัดไม้แล้ว หากไม้ล้มไปในทิศใดจะมีข้อความทำนายว่าควรนำเอามาทำเป็นเสาเรือนหรือไม่และหากไม้ไปพาดกับ
ต้นไม้อื่นไม่ควรนำมาสร้างเรือน
พิธีเสี่ยงทายในการตั้งบ้านใหม่ เพื่อหาบริเวณปลูกเรือนที่เป็นมงคล โดยวิธีเสี่ยงทาย ใช้ใบฝาแป้ง 8 ใบ
ห่อของ 8 อย่าง จัดพานข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน นำไปยังที่ที่ต้องการจะปลูกบ้านตั้งเรือนเสี่ยงทายจับห่อสิ่งของ 1 ห่อ
เมื่อทำพิธีในบริเวณนั้นได้ห่อที่ไม่ดีก็ย้ายเสี่ยงทายในบริเวณอื่นๆสิ่งของเสี่ยงทายนั้นเป็นของที่มีสัญลักษณ์ทั้งสิ้นและ
มีความหมายถึงการดำเนินชีวิตภายหลังจากเข้าไปอยู่ในเรือนที่ปลูกในบริเวณที่เสี่ยงทายแล้วอาทิ ถ้าหากได้ห่อดิน
กระทำสิ่งใดจะสัมฤทธิ์ผลได้ห่อข้าวเปลือกจักอยู่สุขสวัสดิ์ ได้ห่อลูกหิน จักอยู่ดีมีสุข ได้ห่อดอกไม้ จักมีชื่อเสียงได้
เกียรติยศ เป็นต้น
โฉลกเสาเรือน เมื่อหาเสาเรือนครบ ช่างไม้จะเป็นผู้ปรุงเครื่องเรือน โดยจะกำหนดความสูงและขนาด
ของเรือน ขณะตัดเสาก็กล่าวคำโฉลกให้ได้คำที่ดีเป็นสิริมงคล
พิธีขุดหลุมเสาเรือน ก่อนจะขุดหลุมเสาเรือนต้องทำพิธีขอที่ดินกับพญานาคเพราะมีความเชื่อกันว่า
พญานาคเป็นสัตว์มีอิทธิฤทธิ์เป็นเจ้าแผ่นดินอำนวยความสุขหรือภัยพิบัติให้มนุษย์ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะทำการอัน
เป็นมงคลเกี่ยวกับการสร้างบ้านปลูกเรือนจะต้องบูชาเซ่นสรวงผู้ที่เป็นเจ้าที่ดินเสียก่อนแล้วจึงทำพิธีขุดหลุมเสา
เรือนตามทิศที่เหมาะกับวัน
พิธีตัดเสาข่มนางไม้ การตัดไม้เสามาทำเป็น "เสามงคล" หรือ "เสานาง" นั้น เพื่อจะให้เสามงคลเป็น
เสาที่มี อาถรรพ์ และศักดิ์สิทธิ์เป็นมงคลสำหรับตัวเรือนจริง ๆ และกันมิให้เสาตกมัน จึงมีการทำพิธีตัดและเกลา
เสา การทำพิธีตัดเสานั้น ต้องหา "สล่า" หรือช่งไม้ที่มีความเข้าใจชำนาญในทางศาสตรเภท คือ การแก้เสนียดจัญไร
อันเกิดจากไม้เสานั้น ต้องมีการตั้งขันคือการยกครูของภาคกลางเมื่อตั้งขันแล้วสล่าหรือปู่อาจารย์ก็ทำพิธีตัดเสาตาม
ตำราคือเสกขวานหรือมีดที่จะใช้ฟันก็ว่าคาถากำกับด้วยเป็นการข่มนางไม้ เมื่อเสร็จพิธีก็เอาไม้นั้นมาทำเป็นเสามงคล
หรือเสาเอก
พิธีปกเฮือน ครั้นได้ฤกษ์จะลงมือปลูกบ้านวันใด จึงทำพิธีปลูกบ้านหรือ "ปกเฮือน" การปลูกเรือนมักเริ่ม
ทำกันแต่เช้าตรู่ ทำพิธียกเสามงคลและเสานางตลอดจนเสาอื่น ๆ ที่ได้เตรียมไว้ตรงปากหลุมแล้วช่างหรืออาจารย์ จะ
ทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เพื่อให้การทำงานครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี
พิธีทำขวัญเสามงคล เมื่อทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เสร็จเรียบร้อยจึงทำ " พิธีทำขวัญเสามงคล" ตามตำราโบราณ
ถือว่าเสามลคลเป็นพญาของเสาทั้งปวง เสามงคลเป็นเสาพ่อ เสานางเป็นเสาแม่อยู่คู่กัน จึงมีพิธีเรียกร้องขวัญไว้ คำ
เชิญขวัญนิยมเลือกหาผู้ที่จะว่าเชิญเชิญขวัญได้ไพเราะเตรียมเครื่องเพื่อประพรมและผูกเสามงคลเมื่อถึงฤกษ์ยกเสา
มงคลเป็นเสาแรกและยกเสานางเป็นเสาที่สอง
พิธีฝังเสามงคลหรือเสานาง ให้คนที่มีชื่อ " แก้ว คำ เงิน ทอง มั่น แก่น " มาเป้นผู้ช่วยหามเสาและยกเสา
ลงหลุม เพื่อจะได้ เป็นมงคลแก่เจ้าของบ้าน ก่อนที่จะฝังหาใบเต๊า ใบหนุน ใบดอกแก้ว ใบตันมากรองหลุมทุกหลุม
เพื่อเป็นคติว่าจะได้ช่วยค้ำจุนให้บ้านเรือนหลังนั้น มีความเจริญรุ่งเรือง
เสามงคลและเสานางนี้ คนโบราณถือมากในเรื่องการปรนนิบัติรักษา และเชื่อว่าจะต้องรักษาความสะอาด
อยู่เสมอผู้ใดจะปัสสาวะรดหรือทำสกปรกไม่ได้ บางแห่งจะมีหิ้งติดไว้ทางหัวนอนและมีดอกไม้ธูปเทียนบูชาด้วย
เมื่อเสร็จพิธีปลูกเรือนแล้วจากนั้นสัก 3 หรือ 7 วัน จึงทำการมุงหลังคาและส่วนอื่น ๆ และดูฤกษ์ยามเพื่อขึ้น