ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากร 260,433,633 คน เป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก โดยการประมาณการของสหประชาชาติ ในประเทศอินโดนีเซียจำนวนประชากรที่มากนี้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นแรงงานสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ ศักยภาพด้านแรงงานของอินโดนีเซียเกิดขึ้นจากการที่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ยังมีอายุน้อย โดยประชากรมากกว่า 50% มีอายุต่ำกว่า 29 ปี ทำให้มีการคาดการณ์ว่า จำนวนแรงงานในประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน
ส่งผลให้อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนที่มีค่าแรงต่ำ และในช่วงปี 2020–2030 จะกลายเป็นปีที่มีจำนวนประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงนี้ อินโดนีเซียจึงมีโอกาสจากการมีแรงงานและกำลังการผลิตจำนวนมาก ประชากรอินโดนีเซียมีการย้ายถิ่นทั้งภายในเขตและข้ามเขตมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยเป็นอาณานิคมอยู่ ซึ่งก็มีทั้งการย้ายถิ่นโดยสมัครใจและถูกบังคับ ทั้งนี้ มีพื้นที่และแหล่งชุมชนซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า เป็นสถานที่ที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆอพยพเข้ามาอยู่อาศัย อาทิ เขตมินังกาเบาและบาตักในเกาะสุมาตรา เขตบูกิสและมากัสซารีสในสุลาเวสี บันจารีสในกาลิมันตัน และเขตมาดูรีสบนเกาะชวา แต่ด้วยความหนาแน่นของประชากรที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นบนเกาะสำคัญของประเทศ ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียกำหนดนโยบายการอพยพย้ายถิ่น (Transmigration Policy) โดยบังคับให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเกาะชวาและบาหลี อพยพไปอยู่บนเกาะที่มีประชากรเบาบาง เช่นที่เกาะสุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสี และปาปัว เป็นต้น
สำหรับการย้ายถิ่นไปต่างประเทศของคนอินโดนีเซีย เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการตามนโยบายส่งออกแรงงานไร้ฝีมือใน ค.ศ. 1975 โดยมีจุดประสงค์ในช่วงแรกเพื่อต้องการระบายคนว่างงานที่มีอยู่จนล้นในประเทศ 2 แรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศนี้ มีทั้งที่ไปแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบหลังเสียมากกว่า ประเทศปลายทางในระยะแรกอยู่ในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดี แม้แรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเดินทางไปแบบผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้ค่าจ้าง ก็จะส่งกลับประเทศส่วนหนึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมา จุดประสงค์ของนโยบายจึงไม่ใช่เพียงแค่ระบายคนว่างงานเท่านั้น แต่ยังต้องการสร้างรายได้จากการส่งกลับเป็นหลักอีกด้วย จำนวนแรงงานของอินโดนีเซียที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญที่นักวิชาการใช้ในการพยากรณ์จำนวนประชากรก็คือ อัตราเจริญพันธุ์ หรือ FERTILITY RATES หรือจำนวนทารกแรกเกิดโดยเฉลี่ยต่อหญิงหนึ่งคนตลอดชีวิต เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า ยุโรปตะวันตก ประสบกับภาวะที่ FERTILITY RATES ลดลงเป็นลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น ในประเทศที่มีประชากรสูง เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประชากรผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรและอาศัยอยู่ในเขตชนบท ผู้สูงอายุเหล่านี้ได้รับการศึกษาน้อยและต้องประกอบอาชีพตลอดชีวิต จึงไม่มีโอกาสปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมอุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชนบทไม่มีโอกาสได้รับการฝึกอบรมให้มีความสามารถเหมาะสมกับงาน สตรีสูงอายุเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชายเพราะมีการศึกษาน้อยและได้ค่าจ้างต่ำ ผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะการเจ็บป่วยและไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ ผู้สูงอายุในอินโดนีเซียจะเกษียณอายุเมื่อ 55 ปี และกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากระบบบำนาญยังจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มข้าราชการ ทหาร และกลุ่มพนักงานในธุรกิจภาคเอกชนที่มีระบบการจัดการที่ดี ระบบอื่นๆ เช่น การประกันสุขภาพหรือการประกันสังคมในลักษณะอื่นยังมีน้อยมาก การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในด้านสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลจึงต้องให้ความสัมพันธ์แก่ปัญหาผู้สูงอายุอย่างมาก เพื่อทำให้ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องเป็นภาระพึ่งพิงผู้อื่น รัฐบาลประเทศอินโดนีเซียได้เริ่มดำเนินโครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2532 และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการผู้สูงอายุ ซึ่งมีภาระกิจสำคัญ 7 ประการคือ
1.กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยตรง
2.ประสานงานและร่วมดำเนินงานในโครงกานระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับหน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
3.ให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความชำนาญในสาขาต่างๆ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ
4.จัดเตรียมและดำเนินการเพื่อให้ข้อมูล ข่าวสาร การศึกษา และการคมนาคม ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งจัดเตรียมสถาบันที่จะดำเนินงานในด้านผู้สูงอายุ
5.พัฒนากลวิธีและการดำเนินงานโครงการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
6.ดำเนินงานและประเมินงานในด้านผู้สูงอายุ
7.วิจัยและพัฒนางานด้านผู้สูงอายุโดยเน้นประเด็นการใช้ขีดความสามารถของครอบครัวในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการดูแลสุขภาพซึ่งประสบปัญหาไม่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอมาเป็นเวลานานหลายปี ทำให้พวกเขาเกรงว่า นโยบายใหม่นี้ อาจทำให้อุตสาหกรรมด้านสุขภาพของอินโดนีเซีย ต้องถึงคราวล่มสลายก็เป็นได้นอกจากนี้ แผนปฏิรูประบบสาธารณสุข ด้วยการประกันสุขภาพประชากรทั้งประเทศ 240 ล้านคน ให้ได้ภายในปี 2562 ยังอาจบีบให้ชาวอินโดนีเซียจำนวนมากขึ้นที่ต้องหันไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ทั้งใน และนอกประเทศ
แต่ในรายของผู้ที่ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ พวกเขาจำเป็นต้องแข่งขันกับเพื่อนร่วมชาติอีกหลายล้านคน เพื่อให้ได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลของรัฐบาล บริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย แนะนำให้รัฐบาลเพิ่มงบประมาณ สร้างคลีนิคใหม่ในกรุงจาการ์ตา ปีละ 20 ถึง 25 แห่ง ตลอดระยะเวลา 5 ปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลรัฐ และทำให้ระบบประกันสุขภาพครอบจักรวาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น