จริยธรรมในการสื่อสารทำให้การสื่อสารนั้นราบรื่นขึ้น หากสื่อสารกันอย่างขาดจริยธรรมแล้วอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ความเข้าใจผิด หรือบางทีทำให้สิ่งที่เราต้องการสื่อไปนั้นทำเกิดผลเสียต่อผู้ส่งสาร ดังนั้นบางอย่างที่ไม่ควรจะสื่อให้ผู้อื่นรู้ ซึ่งต้องอาศัยหลักธรรมในการพิจารณา วาจานั้นสามารถทำให้เกิดผลเสียก็ได้ ผลดีก็ได้
อย่างที่เราทราบกันดีปัจจุบันนี้โซเชียลมีเดียนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์ จนบางครั้งเราก็ละเลยการสื่อสารแบบ Face-to-Face ไป ขนาดนั่งกินข้าวกันอยู่โต๊ะเดียวกันแต่ยังคุยกันบน Facebook ซะงั้น อย่างไรก็ตามโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เป็นดาบสองคมเหมือนกัน อย่าลืมว่าหากคิดจะเม้าท์ใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ล่ะกัน ชาวบ้านเค้าก็รู้กับคุณด้วยนะ
โซเชียลมีเดียเข้าเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น
เราเป็นทั้งผู้ผลิตและบริโภคข่าวสาร ข่าวสารต่างๆ แชร์กันบนออนไลน์เร็วกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เสียอีก เมื่อข่าวสารมาถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เป็นหน้าที่ผู้รับสารที่จะตัดสินใจเองว่าข่าวนี้จริงหรือมั่วนิ่ม อาจจะดูจากความน่าเชื่อถือของผู้สื่อสารข้อมูลนี้ก็ได้ ยิ่งเราสื่อสารกันแบบออนไลน์มากเท่าไหร่ การสื่อสารแบบเห็นหน้าคาดตาก็มีคุณค่าลดน้อยลง เรากลั่นกรองได้ว่าข้อความไหนจะรับหรือไม่รับรู้มันซะเลย ทำไมจึงต้องมีจริยธรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียด้วยล่ะ ใครๆ ก็สามารถแชร์ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดียได้อยู่แล้ว แต่ถ้าข้อความที่แชร์ไปนั้นมันบิดเบือนความจริง เป็นเท็จ และส่งผลความเสียหายต่อบุคคล