ชามตราไก่ หรือถ้วยตราไก่ที่ขึ้นชื่อของเมืองลำปาง ใครๆ ที่ผ่านไปผ่านมาที่เมืองลำปาง จึงต้องนึกถึงถ้วยตราไก่และต้องเลี้ยวรถเข้ามาที่ตัวเมืองลำปาง ที่จะมาแวะเลือกชื้อ เซรามิก ของดีเมืองลำปางติดไม้ติดมือไปคนหลายๆ ชิ้นหรือเป็นของฝากญาติผู้ใหญ่และพี่น้อง เพื่อนฝูง สินค้าเซรามิกมีหลายรูปแบบและหลายขนาด ราคาตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป ถึงหลัก 10,000 บาทเลยทีเดียว แล้วแต่ขนาดและงานฝีมีอที่ประณีตของคนลำปางโดยแท้ ดังคำขวัญของจังหวัดลำปางคือ "ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก"
ความเป็นมาของชามตราไก่ ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป
ต่อมาราว ปี พ.ศ.2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
ในราวปี พ.ศ.2500 ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาในจังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุด หลังจากพบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู 4 คน คือนายซิมหยู นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ นายซิวกิม แซ่กว็อก และ นายซือเมน แซ่เทน ร่วมก่อตั้ง "โรงงานร่วมสามัคคี" ที่บ้านป่าขามอำเภอเมือง ก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก 3 ปีถัดมา
ระหว่างปี 2502-2505 ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปางหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยานแล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ (จิ๊กเกอร์มือ) แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วยต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบการเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปีฟืนไม้ ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆ ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบแต่ละคนจับพู่กัน 2-3 ด้ามในเวลาเดียวกันแล้วแต่ความยุ่งยากของกรรมวิธี ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นเหลี่ยมมีขาในตัว ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย สมุทรสาคร สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตา
ในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ชามช่วงนี้ตัวไก่สีเขียวหางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพูลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดีเนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่าย จวบจนปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่องแต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคา แพงลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพูหางน้ำเงินแซมใบไม้เขียวเข้ม พ.ศ.2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กลายเป็นสินค้าดอกไม้สีชมพูอ่อน เคลือบชามตราไก่เป็นสีขาวออกสีครีมคุณภาพด้อยลงราคาถูก ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีและวิทยาการการผลิตถ้วยชามก้าวหน้าขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยการนิยมใช้เครื่องถ้วย แบบญี่ปุ่นมากขึ้น ความนิยมในชามตราไก่จึงค่อยๆ หมดไป
ชามตราไก่รุ่นแรกๆ ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน ลักษณะของไก่ ตัว หงอนสีแดง หางสีดำ ต้นกล้วยสีเขียวอ่อน ต้นหญ้าสีเขียว ดอกโบตั๋นสีชมพูม่วง ชามตราไก่รุ่นปัจจุบัน ลักษณะของไก่สีม่วงหรือชมพูม่วงหรือสีจางๆ กัน หางสีน้ำเงิน เขียว ต้นกล้วยเขียวคล้ำ ดอกไม้ชมพูม่วงเขียนลวดลายตามใจ ไม่ค่อยมีแบบแผน
วิธีผลิตแบบโบราณ เริ่มจากการผสมดินโดยย่ำด้วยเท้าและนวดด้วยมือ จากนั้นนำดินมาปั้นราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆ จนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาดถึงทุกวันนี้ จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหาของแท้ ได้ยากมากๆ
ลักษณะของชามตราไก่ ชามตราไก่ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "โกอั้ว" เป็นชามที่เหมาะสมกับการใช้ตะเกียบพุ้ย ชามตราไก่มี 4 ขนาด คือ ขนาดที่ 1 ขนาดปากกว้าง 5 นิ้ว ขนาดที่ 2 ขนาดปากกว้าง 6 นิ้ว ขนาดที่ 3 ขนาดปากกว้าง 7 นิ้ว ขนาดที่ 4 ขนาดปากกว้าง 8 นิ้ว โดยชามขนาดที่ 1 และ 2 สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี ส่วนขนาดที่ 3 และ 4 สำหรับจับกังที่ทำงานหนักเพราะกินจุ ลักษณะของชามไก่จะเป็นรูปทรงกลม (เกือบจะกลม) ปากบาน ข้างชามด้านนอกมีรอยบุเล็กน้อย วาดลวดลายด้วยมือ เป็นรูปไก่ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำ เดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วง ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย มีต้นกล้วย 3 ใบ สีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้ายขวาบางใบมีค้างคาวห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ มีดอกไม้ ใบไม้เล็กๆ แต้มก้นชามด้านใน ใช้สีบนเคลือบขี้เถ้าเผาที่อุณหภูมิ 750-850 องศาเซลเซียส เพราะต้องการให้สีสดลักษณะของเคลือบบนชามจะมีลักษณะสีเขียวอ่อนๆ แบบจีน ต่อมาเมื่อประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วชามตราไก่ส่งมาขายเมืองไทยไม่ได้ ประเทศไทยจึงต้องผลิตชามตราไก่เอง ต่อมาในระยะหลังๆ การผลิตและการขายชามตราไก่มีการแข่งขันกันมากขึ้นในท้องตลาด การผลิตจึงได้เปลี่ยนไป
จากการเผาเคลือบและเผาสีซึ่งมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน ให้เหลือการผลิตขั้นตอนเดียวคือเผาครั้งเดียวไม่ต้องเผาสีจึงได้พยายามเปลี่ยนรูปแบบของการผลิตขึ้น เพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกันนี้จึงได้เปลี่ยนสีรูปไก่ไปเป็นสีใต้เคลือบแทนสีบนเคลือบ ซึ่งตัวไก่เป็นสีเขียว หางสีน้ำเงิน ตบเป็นดินแผ่น แล้วจึงอัดดินลงแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ หมุนขึ้นรูปชามเป็นวงกลมด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้ง) แล้วนำมาต่อขาชามที่ขึ้นรูปแล้วเสร็จ ไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ นำมาชุบเคลือบที่ทำจากขี้เถ้าแกลบปูนหอยและดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ้อนำไปเรียงในเตามังกร เผาด้วยฟืนในความร้อนประมาณ 1,300 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 18-24 ชั่วโม