วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ปัจจุบันเป็นที่ตระหนัก และยอมรับกันทั่วไปว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำ เป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปสู่การกินดี อยู่ดี ของประชากรโดยส่วนรวมนั้น คือ การมีฐานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการพัฒนา และนำเทคโนโลยี ไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ” ดังนั้น เป้าหมายสูงสุด ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อ คุณภาพชีวิต ก็คือ เพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหลักวิชา ในทุกสาขาวิทยาการ เป็นรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง และแข่งขันเป็นแหล่งปัญญา แก่สังคมเพื่อคุณภาพชีวิต เป็นพลังจรรโลง รักษาสิ่งแวดล้อม
รูปแบบการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ
3.1.1 เทคโนโลยีท้องถิ่น
เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้ เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาไทย เป็นการสะสม องค์ความรู้ขึ้นมาจาก ประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน และมีการถ่ายทอดสืบ ต่อกันมา เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาเหล่านี้ เป็นที่มาของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ความเชื่อทางศาสนา วิธีการทำมาหากิน ตลอดจน ศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจาก ประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาด ของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอด มีการปรับปรุง ประยุกต์ และเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ ตามสภาพ การณ์ทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ก่อเกิด และสืบทอดกันมา ในชุมชน เมื่อชุมชน เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ก็มีการปรับตัว เช่นเดียวกัน ความรู้ต่าง ๆ ที่ไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เริ่มสูญหายไป เช่น งานหัตถกรรมทอผ้า เครื่องเงิน เครื่องเขียน และถึงแม้จะยังเหลืออยู่ ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษา คุณภาพ และฝีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากิน มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้รถไถ แทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน เปลี่ยนจากการทำ เพื่อ ยังชีพไปเป็นการผลิต เพื่อการขาย ผู้คนต้องการ เงิน เพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้นำ การพัฒนาชุมชนหลายคน เริ่มเห็นความสำคัญ ของภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์สุขของสังคม
2) ระดับของเทคโนโลยีท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
2.1) เทคโนโลยีระดับต่ำ (Low technology) ส่วนมากเป็น เทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม ตั้งแต่ยุคโบราณ ตลอดจนใช้แรงงาน ในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ดังนั้น จึงอาจเรียก เทคโนโลยีอย่างง่าย ๆ ซึ่งผู้ที่มีความ สามารถในระดับต่ำ จำเป็นต้องมีความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น ๆ อย่างถูกต้อง เนื่องจาก มีความจำเป็นต้องใช้ เพื่อการดำรงชีวิต เราจึงจำเป็น ต้องรู้หลัก และวิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น
2.2) เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate technology) เกิดจากการปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยี ระดับต่ำ หรือเทคโนโลยีพื้นบ้านขึ้นมา เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากขึ้น มีบทบาทในการเสริมความรู้ และประสบการณ์ ให้กับผู้คนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหาร โดยใช้ ผลิตผลเหลือใช้ จากการเกษตร การปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อแก้ปัญหา ดินเสื่อม การถนอมอาหาร การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเครื่องขูดมะพร้าว เป็นต้น
2.3) เทคโนโลยีระดับสูง (High technology) เป็นเทคโนโลยีที่ได้จาก ประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน ผู้ใช้ต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิม ให้มีคุณภาพดีขึ้น จนก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้น อาจจำเป็นต้องอาศัย การศึกษา เรียนรู้ ในสถาบัน การศึกษาชั้นสูง มีการวิจัยทดลอง อย่างสม่ำเสมอ และมีการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การคัดเลือก พันธุ์สัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที และกะทิผง เป็นต้น
3.1.2 เทคโนโลยีที่นำเข้า
แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย ดังนี้
1) เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา
2) เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่