ใช้นิ้วกดนานประมาณ 5 วินาที แล้วประเมิน
ซึ่ง pitting edema มี 4 ระดับคือ
1+ กดบุ๋มลงไป 2 มม. มองไม่เห็นชัดเจน รอยบุ๋มหายไปเร็ว
2+ กดบุ๋มลงไป 4 มม. สังเกตได้ยาก หายไปใน 15 วินาที
3+ กดบุ๋มลงไป 6 มม. สังเกตได้ชัด คงอยู่นานกว่า 1 นาที มองดูพบว่าขาบวมชัดเจน
4+ กดบุ๋มลงไป 8 มม. รอยบุ๋มลึกชัดเจน อยู่นานประมาณ 2-5 นาที มองดูพบว่าขาบวมผิดรูป หรือบิดเบี้ยว
ตำแหน่งที่ตรวจพบภาวะบวมได้ง่ายและชัดเจนคือ หลังเท้า ข้อเท้า บริเวณหน้าแข้ง
เพิ่มเติม:
-Pitting edema อาจเกิดจาก systemic disease ที่พบบ่อยได้แก่ โรคของหัวใจ ไต ตับ รวมทั้งภาวะที่มีโปรตีนในเลือดต่ำ ทำให้เกิดการสะสมคั่งของเกลือและน้ำ หรืออาจเป็น local condition ที่เกิดบริเวณแขนขา ที่พบบ่อยได้แก่ varicose veins และ thrombophlebitis ของ DVT ทำให้การใหลเวียนเลือดกลับทางเส้นเลือดดำได้ไม่ดีจึงเกิดการสะสมของน้ำ
-ส่วน non-pitting edema มักเกิดเนื่องจากความผิดปกติของ lymphatic system แล้วเกิด lymphedema สาเหตุอื่น เช่น pretibial myxedema เป็นการบวมบริเวณหน้าแข้งที่เกิดจาก hypothyroidism, Non-pitting edema รักษายาก มักไม่ตอบสนองต่อการให้ยาขับปัสสาวะ การยกขาสูงหรือการใช้วัสดุกดรัดจะได้ผลดีกว่า
จะเห็นได้ว่าระดับของการกดบุ๋มจะไม่เกี่ยวกับความสูงต่ำของระดับการบวมที่ขาแต่ประเมินโดยความลึกที่เกิดจากการกด