การศึกษางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืชต่างชนิดกัน ทำการทดลองโดยใช้กระถินยักษ์ ประคำดีควาย ลีลาวดี และเปลือกทุเรียน มาทำเป็นน้ำสกัดชีวภาพ โดยมีการใช้ EM 100 มิลลิลิตร ในทุกชุดการทดลอง และปริมาณกากน้ำตาล 100 มิลลิลิตร ในทุกชุดการทดลอง ผสมน้ำฝน 1 ลิตร ต่อวัสดุ 100 กรัม ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ทำการหมักเป็นช่วงอายุเป็นเวลา 60 วัน
ผลการทดลองพบว่าน้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากกระถินยักษ์ ประคำดีควาย ลีลาวดี และเปลือกทุเรียน มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ประมาณ 30ºC, ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง อยู่ในช่วง 3.25-6.74 และค่าการนำไฟฟ้า อยู่ในช่วง 2.01-6.18 เดซิซีเมนต่อเมตร โดยน้ำสกัดชีวภาพจากกระถินยักษ์มีร้อยละไนโตรเจนทั้งหมดสูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.756 และน้ำสกัดชีวภาพจากประคำดีควายมีร้อยละไนโตรเจนทั้งหมดน้อยที่สุดมีค่าเท่ากับ 0.182 ในขณะที่ปริมาณร้อยละฟอสฟอรัสมีมากที่สุดในน้ำสกัดชีวภาพจากลีลาวดีมีค่าเท่ากับ 0.0362 และน้ำสกัดชีวภาพจากกระถินยักษ์มีปริมาณร้อยละฟอสฟอรัสน้อยที่สุดเท่ากับ 0.0136 ปริมาณร้อยละโพแทสเซียม (รอผลการวิเคราะห์) ส่วนปริมาณสารควบคุมแมลงที่มีคุณสมบัติในการขับไล่แมลง พบว่ามีปริมาณสารกลุ่มแอลกอฮอล์ หรือกลุ่มเบนซีนไดออล หรือกลุ่มฟีนอล หรือกลุ่มเอสเทอร์ ในน้ำสกัดชีวภาพจากกระถินยักษ์ ประคำดีควาย ลีลาวดี หรือเปลือกทุเรียน (รอผลการวิเคราะห์)