ตัวอย่างสถานการณ์ที่มีการนำเอาทักษะการเจรจาต่อรองมาประยุกต์ใช้
1. ชีวิตประจำวัน
2. สถานการณ์ไม่พึงประสงค์
3. ชีวิตการทำงาน
4. ชีวิตคู่ ครอบครัว
ถ้าเราสังเกตดี ๆ ตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอนจะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องอาศัยทักษะการเจรจาต่อรองที่เราจะต้องเผชิญอย่างไม่รู้ตัว อาจสรุปว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
เช่น เวลาเราตื่นนอนสิ่งแรกสำหรับบางคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนจะเป็นมืออาชีพ หรือกึ่งอาชีพ
หรือมือใหม่ก็ตามหากการนอนเป็นประเภทการนอนเข้าข่ายขี้เซา จะต้องพึ่งนาฬิกาปลุก เวลาที่เราตั้งไว้อาจจะทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่พอ หรือในฤดูหนาวไม่อยากตื่นจะต้องขอต่ออีกสักงีบ นั่นละ
การเจรจาต่อรองเริ่มขึ้น เริ่มระหว่าง ตัวเราที่ตั้งเวลาปลุกไว้ด้วยมือกับใจเราที่ต้องการตื่นตามที่วางแผนไว้ ถ้าเป็นแม่บ้าน ไปตลาดเช้า เมื่อพบมะนาวที่จะต้องนำมาปรุงอาหาร คำถามแรกก่อนการซื้อขายเริ่มขึ้น
คือ ถามแม่ค้า- พ่อค้าว่าการจำหน่ายมะนาวมีการตั้งราคาไว้อย่างไร มักถามขึ้นว่า ป้า (ลุง) มะนาวขายไงจะได้รับคำตอบทันทีอย่างไม่ต้องรอนาน
เช่น 3 ลูกสิบ หรือ 4 ลูกสิบ ขึ้นอยู่กับขนาดและฤดูกาล การตกลงซื้อขายมักจะเกิดขึ้นหลังจากการเจรจา
ต่อรองเสมอ 5 สิบได้ไหม เป็นต้น หลังจากนั้น นั่ง ตุ๊ก ๆ กลับบ้านก่อนก้าวขาขึ้น คำแรกที่ถามถ้าหากคนขับ
ไม่คุ้นหน้าคือ ไป.........(บ้านพักเรา)...............เท่าไหร่ หาก คนขับบอกราคาว่าจ้างสูง การเจรจาเพื่อให้ราคาที่
เหมาะสมจะเกิดทันที หากการเจรจาสำเร็จ
การว่าจ้างก็เกิด แต่หากไม่สำเร็จจะลงเอยด้วยการเดินกลับเหมือนขา
มาที่หารถมาไม่ได้นั่นเอง และส่วนมากมักไม่เรียกคันใหม่แถวนั้นเพราะบริเวณนั้นมีแต่ตุ๊ก ๆ ที่เป็นพรรคพวก
กัน อยู่กันเป็นกลุ่ม แก๊งตามวัฒนธรรม เกรงใจถ้าไปให้ ที่ปฏิบัติกันตั้งแต่กาลนานมา
จนเรียกกลุ่ม แก๊งนั้นว่า คิว
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่ยกกันมา