“ความรุนแรง” เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ สำหรับคนที่รักกัน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคู่ หาก เปรียบกับความรัก คือน้ำผึ้ง บริโภคมากไปมันก็จะให้โทษ แต่บริโภคจำนวนที่พอดี ก็จะรักษาและบำรุงร่างกาย หมายความว่าจะเป็นความรุนแรงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้มากว่า หากใช้ไปในทางที่ผิด ก็จะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ ความรักก็เช่นกัน หากเรามีอย่างพอดีก็มีเปอร์เซ็นความรุนแรงน้อย
ความรักเป็นสิ่งที่ไม่ผิด ความรักคือสิ่งที่สวยงามเสมอ คนบางคนคิดว่าความรักคือยาพิษ ดูได้จากในปัจจุบันคู่รักหลายคนที่สาเหตุการตายมักจะมาจากความรัก นั่นคือเมื่อมีหรือในขณะที่มีความรักอยู่นั้นจะเกิดการฆ่าตัวตายได้ง่าย ซึงอาจจะเกิดจากการ หึงหวง ระแวง ทะเลาะกันหรือความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ตัดพ้อว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีความสำคัญในชีวิตใครบางคน จนเกิดการฆ่าตัวตาย หรือฆ่ากันเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ อารมณ์ที่มาจากการหึงหวงมากจนเกินไป เหมือนถ้าตัวเองไม่ได้ความรักจากคนนี้ ก็อย่าหวังว่าคนอื่นจะได้ เป็นต้น เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นปัญหาที่คุ้นหูคุ้นตาไปแล้วในสังคมปัจจุบัน คือ การพยายามฆ่าตัวตายของคนไทยในสังคมปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆจากการศึกษาวิจัยพบว่า เจตนาของการฆ่าตัวตายมาจากการนำความคับข้องใจของตนเองมาแสดงออกอย่างรุนแรงเพื่อประชดผู้คนรอบข้างเพื่อแสดงความโกรธ ความปรารถนาอย่างรุนแรงของตนด้วยการทำร้ายตนเอง เรียกร้องผู้ใกล้ชิดของตนเองให้รู้ เข้าใจถึงความคับแค้นข้องใจ ความโกรธ ความไม่พอใจของตนเอง ลงโทษตัวเอง ความกดดันที่มีอยู่ผนวกกับความผิดพลาด ผิดหวัง ที่ถือเป็นความล้มเหลวในจิตใจของตนเอง
“และได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขา หากเจ้าได้จ่ายสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมด เจ้าก็ไม่สามารถให้สนิทสนมระหว่างหัวใจของพวกเขาได้ แต่ทว่าอัลลอฮฺนั้นได้ทรงให้สนิทสนมระหว่างพวกเขา และแท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัลกุรอาน 8 : 63)