ชื่อโครงงาน พัฒนาเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดความสูงพร้อมค่าดัชนีมวลกาย
ชื่อนักศึกษา นายสรวุฒิ ชัยประสิทธิ์ รหัส 055450404019-3
นายศรัณย์ภัทร พัตรปาน รหัส 055450404026-8
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์เลอพงษ์ พิศนุย
สาขาวิชา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
เนื่องจากในปัจจุบันการวัดความสูงและชั่งน้ำหนักได้มีการแยกส่วนการทำงานจึงทำให้สิ้นเปลืองเวลาโดยเฉพาะ ที่หน่วยตรวจโรคอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น 2 มีผู้ป่วยจำนวนมากในแต่ละวัน โครงงานนี้เป็นการพัฒนาปริญญานิพนธ์ของ นายธีรเจต จิตรทิวาจีรชีพ และนายวุฒินันท์ เลิศสมผล ทางผู้จัดทำจึงมีความคิดที่จะพัฒนาโดยใช้เซนเซอร์ตรวจวัดระยะทางเป็นตัววัดส่วนสูงโดยที่สามารถวัดส่วนสูงได้ตั้งแต่ 130 ถึง 200 เซนติเมตร และสามารถชั่งน้ำหนักได้ตั้งแต่ 30 ถึง 200 กิโลกรัม รวมถึงแสดงผลค่าดัชนีมวลกายผ่านหน้าจอทัชสกรีนและเครื่องปริ้นเตอร์ โดยที่จะนำโครงงานนี้มาทำการทดลองใช้งานที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
การออกแบบเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดความสูงพร้อมค่าดัชนีมวลกาย ใช้โปรแกรม Altium Designer ในการออกแบบวงจรขยายและแปลงสัญญาณ ใช้โปรแกรม Solid Works 2012 ออกแบบโครงสร้างเครื่องทั้งหมด การสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการสร้างแผ่นวงจรพิมพ์วงจรขยายและแปลงสัญญาณ, บอร์ดรองรับไมโครคอนโทรลเลอร์สำเร็จรูป ADuC847, .ใช้โหลดเซลล์สำเร็จรูปขนาด 200 kg, ใช้เซนเซอร์อินฟาเรดสำเร็จรูป, จอทัชสกรีน Friendly ARM9 สำเร็จรูป, เครื่องปริ้นเตอร์ขนาดเล็กสำเร็จรูป และการสร้างโครงสร้างของตัวเครื่อง
การปรับเทียบน้ำหนัก,.ส่วนสูงทำการปรับเทียบน้ำหนักที่ 30.ถึง.200.กิโลกรัม ปรับเทียบเพิ่มทีละ 10 กิโลกรัม โดยทำการแก้ไขในส่วนของโปรแกรมชั่งน้ำหนัก ทำการปรับเทียบส่วนสูงที่ 130 ถึง 200 เซนติเมตร ปรับเทียบเพิ่มทีละ 10 เซนติเมตร โดยทำการแก้ไขในส่วนของโปรแกรมวัดส่วนสูง
ทำการทดลองชั่งน้ำหนักที่ 30 – 200 กิโลกรัม ทดลองค่าละ 10 ครั้ง โดยเพิ่มทีละ 10 กิโลกรัม ได้เปอร์เซ็นต์ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยน้ำหนัก.0.429%.ทำการทดลองวัดส่วนสูงที่.130.ถึง.200.เซนติเมตร ทดลองค่าละ 10 ครั้ง โดยเพิ่มทีละ 10 เซนติเมตร ได้เปอร์เซ็นต์ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยส่วนสูง 0.096%..ทำการทดลองหาค่าดัชนีมวลกาย โดยทำการสุ่มนักศึกษาสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม จำนวน 10 คน เพศชาย 8 คน และเพศหญิง 2 คน มาทำการชั่งน้ำหนักและวัดความสูงเพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย ได้เปอร์เซ็นต์ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 0.260%