ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไตรมาสที่ 4 ปี 2556 และแนวโน้มปี 2557 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ของปี 2556 วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 0.6 โดยเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ขยายตัวจากไตรมาสสามของปี 2556 ร้อยละ 0.6 ในขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมยังมีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานยังต่ำที่ร้อยละ 0.7 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 1.7 และเมื่อรวมทั้งปี 2556 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.9
ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่สี่ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสสามนั้น เป็นไปตามภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ได้แก่ (1) การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลงร้อยละ 4.5 โดยเฉพาะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งต่ำกว่าไตรมาสที่สี่ปี 2555 ถึงร้อยละ 42.0 ซึ่งในไตรมาสสี่ของปี 2555 เป็นช่วงที่มีการส่งมอบรถยนต์ตามมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกมากที่สุด ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงในช่วงที่มีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง จึงมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น (2) การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 11.3 โดยที่การลงทุนในภาคเอกชนลดลงร้อยละ 13.1 ทั้งในส่วนของการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรที่ลดลงถึงร้อยละ 15.3 และการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่มีการลงทุนซ่อมแซมบ้านและโรงงานหลังน้ำท่วม
รวมทั้งความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดลงเนื่องจาก ผู้ซื้อบ้านชะลอการตัดสินใจจองบ้านอยู่อาศัย ในขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.7 ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณลดลงในส่วนของโครงการไทยเข้มแข็ง เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ จึงทำให้มูลค่ำการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 13.2 และ (3) การใช้จ่ายภาครัฐบาล (ณ รำคำคงที่) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 จากไตรมาสสี่ปี 2555 ซึ่งมี การใช้จ่ายของรัฐบาลสูงในหมวดผลตอบแทนของข้าราชการเกษียณก่อนกำหนด