การคัดเลือกและหว่านเมล็ด
การปลูกพืชโดยการหว่านเมล็ดโดยตรงในแปลงปลูก เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดแบบหนึ่งซึ่งมักจะใช้กับการปลูกพืชไร่ การปลูกพืชโดยวิธีนี้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก วิธีการโดยทั่วไปก็คือนำเมล็ดมาหว่านหรือดำลงในแปลงที่เตรียมไว้ การหว่านจะหนาหรือบางจะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด ถ้าเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงก็จะหว่านเมล็ดให้บางลงและเมื่อเห็นว่าจะมีต้นพืชขึ้นเบียดเหนาแน่นจนเกินไปก็จะถอนแยกหรือถอนทิ้งเสียบ้าง เพื่อไม่ให้ต้นพืชขึ้นเบียดเสียดแน่นจนเกินไป พืชที่นิยมปลูกโดยใช้วิธีนี้ ได้แก่ ฝ้าย ป่าน ปอ กระเจี๊ยบ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง คะน้า ผักกาด ผักบุ้ง ผักชี รวมทั้งดอกไม้บางชนิด ได้แก่ บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย เป็นต้น
การชลประทานหรือการให้น้ำ
น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชเพราะน้ำเป็นตัวช่วยละลายแร่ธาตุอาหารในดินและเป็นตัวกลางนำธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆของพืช นอกจากนี้น้ำยังเป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง ตลอดจนช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินอ่อนนุ่มและร่วนซุย ช่วยรักษาอุณหภูมิของดินให้เหมาะสมไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดจนเกินไป ทำให้อิทรียวัตถุสลายตัว และเกื้อกูลจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์แก่พืชให้มีชีวิตอยู่ได้
ระบบน้ำการให้น้ำ
การให้น้ำแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1.การให้น้ำทางผิวดิน
2.การให้น้ำโดยซึมจากใต้ดิน
3.การให้น้ำแบบพ่นเหนือดิน
การให้น้ำทางผิวดิน
-ปล่อยให้น้ำท่วมแปลง เป็นการให้น้ำแบบปล่อยท่วมแปลง อาจปล่อยจากคลองโดยตรงหรือปล่อยจากคูย่อย
-ปล่อยไปตามร่องคู เป็นการให้น้ำโดยจ่ายไปตามร่องคู่ คือปล่อยน้ำจากท่อใหญ่ให้ไหลไปตามร่องคูที่ทำไว้ระหว่างแถวพืช
-การให้น้ำแบบหยด เป็นการให้น้ำโดยผ่านทางท่อขนาดจิ๋ว
การให้น้ำโดยซึมจากใต้ดิน
เป็นการให้น้ำทางใต้ดินในระดับใดระดับหนึ่งที่เรากำหนดให้ซึ่งน้ำจะซึมสู่รากพืชได้สะดวก
การให้น้ำแบบพ่นเหนือดิน
การให้น้ำเหนือดินอาจทำได้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ใช้บัวรดน้ำ
การให้น้ำแบบฝนเทียม คือ ฉีดเป็นฝอยคล้ายฝน
การระบายน้ำ
การระบายน้ำอาจทำได้โดยผ่านร่องหรือคูบนผิวดินหรือระบายผ่านท่อที่ฝั่งอยู่ใต้ดิน การจะใช้วิธีไหนนั้นจะต้องพิจารณาลักษณะของดินว่าเป็นเหนียวหรือดินร่วนที่ซึมได้ง่าย
การป้องกันกำจัดวัชพืช
หลักการป้องกันกำจัดวัชพืช
1. การป้องกัน (prevention)เป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชจากที่อื่นแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่หนึ่ง ๆ
2. การควบคุม (control) เป็นการลดผลเสียหายจากวัชพืชที่เกิดแก่พืชปลูกให้มากที่สุด
3. การกำจัด (eradication) เป็นการทำลายให้หมดสิ้น คือ ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชในพื้นที่นั้นหมดสิ้นไป เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและขยายพันธุ์
วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช
วิธีกล
1.1. การใช้แรงงานคน
การใช้แรงงานคน
- การปลูกพืชที่มีเนื้อที่ปลูกขนาดเล็ก
- การปลูกพืชที่ต้องการการดูแลแบบพิถีพิถัน
- สภาพที่แรงงานหาง่ายและราคาถูก
- สภาพที่ต้องการความปลอดภัย (จากสารพิษตกค้าง)
- สภาพที่วัชพืชไม่ร้ายแรงและไม่หนาแน่น
1.2. การใช้แรงงานสัตว์
เป็นการใช้แรงงานจากสัตว์ใหญ่ในการลากจูงอุปกรณ์ต่าง ๆ พวกไถ และคราด ในการไถพรวน หรือคราดเศษวัชพืช ข้อจำกัดคือ ในสภาพที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่จะไม่สามารถทำได้ทันเวลา
1.3. การใช้เครื่องทุ่นแรง
เป็นการใช้เครื่องมือในการไถพรวนต่าง ๆติดกับรถแทรกเตอร์หรือรถไถเดินตาม เพื่อทำลายวัชพืชโดยการฝังหรือกลบกล้าต้นวัชพืชลงไปในดิน หรือพลิกเอารากวัชพืชขึ้นมาทำให้ต้นวัชพืชแห้งตาย
1.4. การใช้ไฟเผา
เป็นการกำจัดวัชพืชทุกชนิดในพื้นที่ที่ไม่มีพืชปลูก ช่วยลดปัญหาการงอกของเมล็ดวัชพืชที่อยู่ในดินได้ แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อพืช
1.5. การใช้วัสดุคลุมดิน
อาศัยหลักการบดบังแสงเพื่อให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตหรืองอกได้ วัสดุที่ใช้ เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กาบมะพร้าว ใบอ้อย ขี้เลื่อยกระดาษ พลาสติก นอกจากลดปัญหาวัชพืชแล้วยังช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดแรงปะทะของน้ำฝน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดินในกรณีที่เป็นวัสดุธรรมชาติ
วิธีเขตกรรม
เป็นการปฏิบัติในแปลงปลูกเพื่อลดปัญหาการแก่งแย่งแข่งขันของวัชพืชทางอ้อม
2.1. การทดน้ำระบายน้ำ
นิยมใช้ในการทำนาดำวัชพืชหลายชนิดเมื่อถูกน้ำท่วมขังในระยะหนึ่งก็จะตายลง
2.2 การปลูกพืชคลุมดิน
-มีการเจริญเติบโตดีสามารถคลุมผิวดินได้รวดเร็ว เติบโตเร็วกว่าวัชพืช สามารถคลุมดินได้ก่อนวัชพืชเติบโต
-เป็นพืชที่ไม่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่พืชปลูกไม่แก่งแย่งกับพืชปลูกมากนัก และเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน
-มีอายุการเจริญเติบโตที่ยาวนาน มีอายุข้ามปี ไม่มีปัญหาเรื่องแห้งตายในฤดูแล้ง (ทำให้ไฟไหม้)-ไม่เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช
- ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
2.3 การปลูกพืชหมุนเวียน
เป็นการปลูกพืชต่างชนิดสลับกันไปในรอบปีการเพาะปลูก เพื่อช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืช เพราะว่าการปลูกพืชต่างชนิดกันจะมีวิธีการเพาะปลูก การดูแล การจัดการที่ต่างกัน ทำให้วัชพืชมีความแตกต่างกัน
2.4 การปลูกพืชแซม
เป็นการใช้หน้าดินให้เป็นประโยชน์และลดปัญหาวัชพืชไปในตัวโดยพืชแซมควรมีลักษณะดังนี้
- มีอายุการเจริญเติบโตที่ให้ผลผลิตไม่ยาวนาน
- มีการแตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
- มีระบบรากไม่แผ่กว้าง หรือลึกจนเกินไป
- มีลำต้นไม่สูง
- ไม่มีผลกระทบต่อพืชปลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม
- มีตลาดรองรับการจำหน่ายผลผลิต
ชีววิธี
เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตในการจัดการวัชพืช (แมลง จุลินทรีย์ สัตว์) วิธีนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมวัชพืชให้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์
การเก็บเกี่ยวและการรักษา
การเก็บเกี่ยวพืชผักควรเก็บเมื่ออายุเหมาะสม ตามจุดประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริโภคสด หรือทำผลิตภัณฑ์ เพราะจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ คุณค่าทางอาหาร รสชาติ ลักษณะรูปร่าง สีสัน ความสดสูงสุด การเก็บเกี่ยวพืชผักที่ถูกต้องควรทยอยเก็บตลอดฤดูปลูกจะให้ผลดีมากกว่าการเก็บเกี่ยวให้หมดในคราวเดียว แต่อย่างไรก็ตามกสิกรส่วนใหญ่ที่ปลูกพืชผักเป็นการค้านิยมการเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดแรงงานและใช้ที่ดินให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด การรักษาคุณภาพพืชผักให้ดีนั้น ควรมีความระมัดระวังระหว่างการเก็บเกี่ยว