บทที่ 1
ที่มาและความสำคัญ
ยุงลาย Aedesaegyptiเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย มักจะพบในภาชนะที่ใส่ น้ำดื่ม น้ำใช้ ในครัวเรือน จากจานขาตู้กันมดทั้งตามแหล่งน้ำขังในครัวเรือน โครงงานนี้ได้ทำการศึกษาหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารครัวเรือนในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 อันได้แก่ ผงซักฟอกชนิดต่างๆ (detergent) สารส้ม น้ำส้มสายชู เกลือแกง และด่างทับทิม ผลปรากฏว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 ได้ 100% ของสารละลายผลซักฟอกชนิดต่างๆ คือ 0.04% สารละลายสารส้มคือ 6.08% สารละลายน้ำส้มสายชู คือ 0.5% สารละลายเกลือแกง คือ 1.00% และสารละลายด่างทับทิมคือ 0.08% เมื่อเรียงค่าความเข้มข้นของสารละลายครัวเรือนที่ใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 จากน้อยไปหามาก ได้ดังนี้ ผงซักฟอก ด่างทับทิม น้ำส้มสายชู เกลือแกง และสารส้ม ถ้าจะใส่ลงในน้ำดื่มน้ำใช้ ควรใส่สารละลายสารส้มความเข้มข้น 6.08% และในน้ำทิ้งควรใส่สารละลายผงซักฟอก 0.08% ส่วนสารครัวเรือนอื่นๆ อันได้แก่ น้ำส้มสายชู เกลือแกง และด่างทับทิม ก็ใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนั้นเราจะเห็นว่าสารครัวเรือน ดังได้กล่าวมาแล้วสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 ได้ โดยไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาสรรพคุณสารเคมีชนิดต่างๆที่มีผลต่อการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2. เพื่อเปรียบเทียบสารเคมีที่ใช้กำจัดลูกน้ำยุงลาย
สมมุติฐาน
1. สารเคมีชนิดต่างน่าจะมีผลต่อการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้
2. ผงซักฟอกน่าจะมีผลต่อการกำจัดลูกน้ำยุงลายได่ดีที่สุด
ตัวแปรต้น สารเคมีชนิดต่างๆ
ตัวแปรตามปริมานลุกน้ำยุงลายลดน้อยลง
ตัวแปรควบคุม ปริมานของสารเคมีที่ใช้ สถานที่และระยะเวลา
นิยามเชิงปฎิบัติการ
สารเคมีชนิดต่างๆ คือ ผงซักฟอก ด่างทับทิม สารส้ม เกลือแกง น้ำส้มสายชู
ปริมาณลูกน้ำยุงลายลดลง คือ เมื่อนำสารเคมีชนิดต่างๆไปใส่ในแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายแล้วทำให้ปริมานลูกน้ำยุงลายลดลงหรือหมดไป
ปริมาณสารเคมี คือ ใช้ปริสารเคมีจำนวนเท่ากัน
สถานที่ คือ ตามสถานที่ที่มีน้ำขัง ห้องน้ำ อ่างน้ำ
ระยะเวลา คือ 10 วัน ใส่5ครั้ง
บทที่3
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
1. ผงซักฟอก 5 กรัม
2. ด่างทับทิม5 กรัม
3. สารส้ม5 กรัม
4. เกลือแกง5 กรัม
5. น้ำส้มสายชู5 กรัม
6. ถาดทดลอง5 ถาด
7. หลอดหยด5 หลอด
8. ตาชั่ง1 เครื่อง
ออกแบบการทดลอง
1. เตรียมสารเคมีชนิดต่างๆ
2. ตวงผงซักฟอก 10 กรัม และละลายน้ำปริมานครึ่งหนึ่งของสาร
3. ตวงด่างทับทิม สารส้ม เกลือแกง น้ำส้มสายชุ ตามข้อที่2
4. ละลายสารให้เข้ากันเก้บไว้ในกระปุก
5. นำสารที่ละลายไปใส่ในแหล่งน้ำคลังที่บริเวณเดียวกันและปริมานเท่ากัน
6. บันทึกผลการทดลอง
7. ตรวจสอบว่าสารชนิดใดทำให้ลูกน้ำยุงลายลดลง
8. เปรียบเทียบข้อมูลของ 2สถานที่ที่นำไปทดลอง
9. สรุปผลการทดลอง