ซะกาต (อาหรับ: زكاة IPA: [zækæːh] หรือ ทานประจำปีหมายถึงทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเมื่อครบรอบปี ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพท์สิน เงินทอง สินค้าที่เหลือในรอบปีแล้วไม่ทำการบริจาค ผู้นั้นก็ผู้หนึ่งที่ทำผิดบัญญัติของอิสลาม และยังถือเป็นการผิดกฎหมายในบางประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม ในประเทศไทยมุสลิมจำเป็นต้องจ่ายทั้งซะกาตและภาษี
ซะกาต มี ๒ ประเภท
๑. ซะกาตที่มุสลิมที่สามารถเลี้ยงตัวได้ต้องจ่ายแก่คนยากจนหรือคนอนาถาในเดือนรอมฎอน อันเป็นเดือน ถือศีลอด โดยจ่ายเป็นอาหารหลัก ที่คนในท้องถิ่นรับประทานกันเป็นประจำ ซึ่งได้แก่ข้าวสาร อาหารแห้ง ต่างๆ สำหรับ ผู้ที่เป็น หัวหน้า ครอบครัวนั้น ต้องรับผิดชอบ จ่ายซะกาต แทนสมาชิก ในครอบครัวด้วย การจ่ายซะกาตนี้มีความสำคัญ ถึงขนาดที่ว่า หากใครถือศีลอด แล้วไม่จ่ายซะกาต อัลลอฮุก็ยังไม่รับ การถือศีลอดของเขา
๒. ซะกาตที่จ่ายจากทรัพย์สินที่สะสมไว้หลังจากการใช้จ่ายครบรอบปีแล้วในอัตราที่ต่างกัน ตามประเภท ของทรัพย์สิน ตั้งแต่ร้อยละ ๒.๕ ไปจนถึง ร้อยละ ๒๐ ซึ่งในเรื่องนี้ได้คำนึงถึง ความมั่นคง และความเจริญ เติบโตทางการเงินที่ต้องอาศัยความพยายาม ความรู้ ความสามารถ และทุนจำนวนมาก ในการดำเนินธุรกิจ ที่มีความเสี่ยง ต่อการขาดทุน โดยกำหนด ซะกาตไว้ ร้อยละ ๒.๕ สำหรับ ทองคำและเงิน ที่ไม่สามารถ ตอบสนอง ความต้องการ ที่แท้จริงของมนุษย์ได้โดยตรง จะต้องนำไปซื้อของจาก พ่อค้าวานิช ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งรวมทั้งแร่ทอง และเงิน เป็นสิ่งที่หายาก และต้อง ลงทุนลงแรง เป็นอย่างมาก กว่าจะได้มา ดังนั้น จึงกำหนด อัตรา ซะกาต เอาไว้อย่างต่ำ เพียงร้อยละ ๒.๕ สำหรับ ผลผลิต ทางการเกษตร แตกต่างกันไป โดยผลผลิต ประเภทที่เน่า เสียง่าย เช่น ผัก ไม่ต้องนำ มาจ่าย ซะกาต ส่วนผลผลิต ที่สามารถเก็บไว้ ได้นาน จะแบ่งระดับอัตราการจ่าย ซะกาต ตามประเภท ของที่ดิน โดยที่ดินที่ใช้ ในการเพาะปลูก ซึ่งถึงแม้ เจ้าของที่ดิน จะต้องใช้เงิน และแรงงาน ในการพัฒนา ที่ดิน แต่ไม่จำเป็น ต้องใช้แรงงานมาก ในการรดน้ำ และการเพาะปลูก เนื่องจากแผ่นดิน ได้รับน้ำฝน ตามธรรมชาติ หรือ จากคลอง ที่มีอยู่แล้ว ที่ดินประเภทนี้ ต้องจ่ายซะกาตร้อยละ ๑๐ ในขณะที่หากเป็น ที่ดิน ที่ต้องใช้แรงงาน และการ ลงทุนมาก สำหรับ การชลประทาน เช่นต้องใช้เครื่องสูบน้ำ จากบ่อ หรือ ลำคลอง ลำธาร มายังที่ดิน หรือจำเป็นต้อง ขุดคลอง จะจ่าย ซะกาต ในอัตราน้อยกว่า คือร้อยละ ๕
กรณีของทรัพย์สินที่พบโดยบังเอิญและไม่ปรากฏเจ้าของ เช่น กรณีเก็บทรัพย์สินที่สูญหายได้ ผู้พบ ต้องจ่าย ซะกาต ในอัตรา ร้อยละ ๒๐
การจ่ายซะกาต ถือเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดที่ต้องปฏิบัติควบคู่กับการละหมาด ทุกครั้ง ที่มีการกล่าวถึง การละหมาด ในคัมภีร์ อัลกุรอาน ก็จะมีการกล่าวถึง การจ่ายซะกาต ติดตามมาทันที โดยชาวมุสลิม จะถือว่า การทำละหมาด เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อพระเจ้า ส่วนซะกาต เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อมนุษย์ โดยเฉพาะ ประเทศที่นับถือ ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนา ประจำชาติ เช่น ประเทศในอาหรับ ทั้งหลาย จะมีการเรียกเก็บ ซะกาต และนำไปเก็บรวมไว้ที่ใบตุลมาล หรือคลังของ รัฐอิสลาม เมื่อเก็บ รวบรวม ซะกาต แล้วนำไป แจกจ่าย แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับ ๘ ประเภท ที่กล่าวแล้ว ข้างต้น ซึ่งคลังเหล่านี้ ก็ได้กลายเป็น แหล่งทุนใหญ่ ในการแจกจ่ายไปยังองค์กร สาธารณประโยชน์ทั้งในประเทศ ของตนเอง และ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะโรงเรียนตาฎีกา และ โรงเรียนปอเนาะ ตลอดจนโรงเรียนเอกชน สอนศาสนา ต่างๆ ใน ๓ จังหวัด ชายแดน ภาคใต้
ศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนถึงหน้าที่ในการจ่ายทานบังคับของคนที่มีทรัพย์สินเกิน จำนวน ที่ศาสนา กำหนดไว้ ในรอบปี โดยถือหลักปฏิบัติ ที่สำคัญ ๑ ใน ๕ ประการ นอกเหนือจาก การปฏิญาณ ตนว่า จะยึดมั่น ในพระผู้เป็นเจ้า เพียงองค์เดียว ละหมาด การถือศีลอด และ การประกอบ พิธีฮัจญ์ ที่หากผู้ใด ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ จากพระผู้เป็นเจ้า อย่างสาสม
ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตว่า