บทที่ 5
บทสรุป
5.1 สรุปผลการวิจัย
1. จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 50 คน พบว่า ผู้ตอบ
แบบสอบถาม ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 64 อยู่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 60 นักศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 46
2. จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการรักษา
ความสะอาด พบว่า โดยปกติเวลากลางวันนักศึกษามักจะซื้ออาหาร เครื่องดื่มหรือขนมตามซุ้มบ่อยที่สุด ร้อยละ 50 เวลากลางวันนักศึกษามักจะนั่งรับประทานอาหารตามซุ้มบ่อย ร้อยละ 56 นักศึกษาจะพบเศษขยะอยู่บนโต๊ะหรือบริเวณรอบๆซุ้ม ร่มไม้ โรงอาหาร หรือห้องเรียนบ่อยที่สุด ร้อยละ 62 บ่อยหากนักศึกษาพบขยะตามซุ้ม นักศึกษาจะนำขยะเหล่านั้นไปทิ้ง ร้อยละ 40 บ่อยที่นักศึกษาบอกให้เพื่อนทิ้งขยะให้ลงถังขยะ เมื่อพบเห็นว่า เพื่อนคนนั้นกำลังจะทิ้งขยะลงพื้น ร้อยละ 58 บ่อยที่นักศึกษาจะเก็บขยะไปทิ้งที่อื่นเมื่อพบว่าบริเวณนั้นไม่มีถังขยะ ร้อยละ 40 บ่อยที่สุดเมื่อนักศึกษาพบป้าย หรือโปสเตอร์ที่ช่วยบอกให้ช่วยกันรักษาความสะอาด นักศึกษาก็จะไม่ทิ้งขยะ หรือทำให้บริเวณนั้นสกปรก ร้อยละ 46
5.2 อภิปรายผล
พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการรักษาความสะอาด ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เวลากลางวันนักศึกษามักจะซื้ออาหาร เครื่องดื่มหรือขนมตามซุ้มบ่อยที่สุด และบ่อยที่นักศึกษามักจะนั่งรับประทานอาหารบริเวณซุ้ม เนื่องจากอาจจะสะดวกต่อการซื้อ ไม่ต้องไปเบียดกันในโรงอาหาร หรือเพราะอยู่ใกล้บริเวณที่นั่ง และจากการที่นักศึกษานั่งรับประทานอาหาร หรือขนม บริเวณซุ้ม ร่มไม้ โรงอาหาร หรือห้องเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มักจะพบเศษขยะอยู่บนโต๊ะหรือบริเวณรอบๆซุ้ม ร่มไม้ โรงอาหาร หรือห้องเรียน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากนักเรียนไม่เห็นความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงไม่ใส่ใจในการปฏิบัติและรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด พฤติกรรมหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่ถูกต้องยังคงปฏิบัติเช่นเคย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง และสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวของนักศึกษาที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติ เช่น ความพอเพียงของภาชนะที่จะรองรับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีขึ้นในแต่ละวัน และแต่ละจุดที่มีการเกิดปริมาณขยะไม่เท่ากัน เป็นต้น แต่จากการสำรวจนักศึกษาส่วนใหญ่มักจะช่วยกันรักษาความสะอาด เช่น หากนักศึกษาพบขยะตามซุ้ม นักศึกษาจะนำขยะเหล่านั้นไปทิ้ง นักศึกษาจะเก็บขยะไปทิ้งที่อื่นเมื่อพบว่าบริเวณนั้นไม่มีถังขยะ เป็นต้น และนักศึกษาส่วนมากก็มักจะไม่ทิ้งขยะ ถ้าหากบริเวณนั้นมีป้าย หรือโปสเตอร์ที่บอกให้ช่วยกันรักษาความสะอาด
5.3 ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษา เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการรักษาความสะอาดผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะดังนี้
ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการรณรงค์เรื่องการทิ้งขยะในโรงเรียนมหิทยาลัยแก่นักศึกษาอย่างจริงจังและมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของมหาวิทยาลัยและยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศชาติได้อีกด้วย