ในกระบวนการหมักแบบ Simultaneous saccharification and fementation (SSF) คือ การหมักเอทานอลจากวัตถุดิบประเภทลิกโนเซลลูโลสโดยการย่อยสลายควบคู่กับการหมัก จากรายงานการศึกษาการคัดแยกยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae จากโรงงานผลิตแอลกอฮอล์ในประเทศบราซิลได้ทั้งหมด 50 สายพันธุ์ เมื่อนำมาทดสอบการเจริญเติบโต พบว่า S.cerevisiae LBM-1 มีความสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส และ อีกสายพันธุ์ที่ได้รับการเลือกเพื่อมาทดสอบการผลิตเอทานอล คือ Kluyveromyces marxianus UFV-3 ซึ่งมีความสามารถเปลื่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นเอทานอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำยีสต์ ทั้งสองสายพันธุ์มาทดสอบความสามารถในการเจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 30 42 และ45 องศาเซลเซียส พบว่า kluyveromyces marxianus UFV-3 สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าอีกสายพันธุ์ เมื่อนำมาศึกษาการหมักเอทานอลจากวัตถุดิบประเภทชานอ้อยซึ่งผ่านการปรับสภาพด้วยกรดซัลฟูลิกและโซเดียมไฮดรอกไซด์โดยกระบวนการหมักแบบ SSF เปรียบเทียบระหว่างการมีและไม่มีขั้นตอน presaccharitication ในการหมักที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียส พบว่า ในการหมักแบบ SSF ที่มีขั้นตอน presaccharitication เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และทำการหมักต่ออีก 8 ชั่วโมง ให้ผลผลิตเอทานอลสูงสุดที่ 1.79 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่ากระบวนการหมักแบบ SSF ที่ไม่มีขั้นตอนการ presaccharitication และการหมักแบบ Separate hydrolysis and fermentation (SHF) ซึ่งมีการ presaccharitication ก้ให้ผลผลิตที่น้อยกว่าการหมักแบบ SSF ที่มีขั้นตอนการ presaccharitication เช่นกัน