หน่วยอาหาร
เรื่อง อาหาร 5 หมู่
จุดประสงค์
1. จำแนกและจัดกลุ่มอาหารหมู่ต่างๆ ได้
2. พัฒนากล้ามเนื้อย่อยและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
กิจกรรมและประสบการณ์
ขั้นนำ
เด็กออกมาเล่าถึงอาหารที่รับประทานเมื่อเช้า
ขั้นสอน
1. เด็กและครูสนทนาร่วมกันถึงอาหารหลัก 5 หมู่ ได้แก่ 1. เนื้อ นม ไข่ ให้โปรตีน 2. ข้าว แป้ง น้ำตาล ให้คาร์โบไฮเดรต 3. ผักต่างๆ ให้เกลือแร่ 4. ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามิน 5. เนย น้ำมัน ให้ไขมัน โดยครูนำชาร์ต “อาหาร 5 หมู่” มาประกอบการสนทนา
2. ครูนำข้าวผัดหมูมาแยกส่วนประกอบออกตามอาหารหลัก 5 หมู่ให้เด็กดู คือ แตงกวา มะเขือเทศ ให้เกลือแร่และวิตามิน ข้าวเป็นแป้งให้คาร์โบไฮเดรต หมูเป็นเนื้อสัตว์ให้โปรตีน น้ำมันที่ใช้ผัดให้ไขมัน
3. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม และแจกอาหารให้กลุ่มละ 1 ชนิด แล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มทดลองแยกส่วนประกอบตามอาหาร 5 หมู่ จากนั้นตรวจร่วมกัน
ขั้นสรุป
1. ครูนำชาร์ต “อาหาร 5 หมู่” มาแสดง แล้วทบทวนถึงประโยชน์ของอาหารแต่ละหมู่ร่วมกัน
2. ให้เด็กดูภาพในชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 3 เล่ม3 หน้า 1 แล้วระบายสีภาพที่ตรงกับหมู่อาหาร
สื่อการเรียนรู้
1. ชาร์ต “อาหาร 5 หมู่”
2. ข้าวผัด และอาหารชนิดต่าง ๆ 4 ชนิด
3. ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 3 เล่ม 3 หน้า 1
ประเมินผล
1. สังเกตจากการสนทนาและตอบคำถามเกี่ยวกับอาหาร 5 หมู่
2. สังเกตจากการแยกส่วนประกอบของอาหารตามอาหาร 5 หมู่
3. ตรวจผลงานการระบายสีภาพที่ตรงกับหมู่อาหาร
เรื่อง รสชาติ
จุดประสงค์
1. รู้จักรสชาติ และจำแนกรสชาติต่าง ๆ ได้
2. เขียนคำพยางค์เดียวง่าย ๆ ได้
กิจกรรมและประสบการณ์
ขั้นนำ
ให้อาสาสมัครออกมาเล่าถึงอาหารที่ชอบ คนละ 1 ชนิด
ขั้นสอน
1. ให้เด็กชิมอาหารชนิดต่าง ๆ ที่ครูนำมา คือ น้ำซุปต้มมะระ น้ำเชื่อม น้ำเกลือ ขนมอบกรอบรสเผ็ด น้ำมะนาว แล้วครูถามเด็กดังนี้
- อาหารที่เด็กชิมมีรสชาติเป็นอย่างไร
- มีอาหารชนิดใดบ้างที่มีรสชาติเหมือนอาหารที่เด็กชิม
2. ครูนำชาร์ต “รสชาติ” ที่มีคำศัพท์รสชาติต่าง ๆ เช่น หวาน เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ขม และภาพอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริก กาแฟ น้ำมะนาวปั่น ขนมปังทาเนย ไอศกรีมมาแสดง แล้วให้อาสาสมัครออกมาติดภาพอาหารตามคำศัพท์บนชาร์ต
3. เด็กและครูตรวจความถูกต้องในการติดภาพบนชาร์ตร่วมกัน
ขั้นสรุป
1. เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับรสชาติต่าง ๆ ว่าอาหารมีรสชาติต่างกัน เช่น หวาน เปรี้ยว เค็ม เผ็ด และขม
2. ให้เด็กดูภาพในชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 3 เล่ม3 หน้า 2 แล้วเขียนคำลงในช่องว่างให้ตรงกับรสชาติของอาหารในภาพ
สื่อการเรียนรู้
1. อาหารชนิดต่าง ๆ (ซุปต้มมะระ น้ำเชื่อม น้ำเกลือ ขนมอบกรอบรสเผ็ด น้ำมะนาว) 2. ชาร์ต “รสชาติ”
3. ภาพอาหารชนิดต่าง ๆ (น้ำพริก กาแฟ น้ำมะนาวปั่น ขนมปังทาเนย ไอศกรีม)
3. ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 2 เล่ม 2 หน้า 2
ประเมินผล
1. สังเกตจากการสนทนาและตอบคำถามเกี่ยวกับรสชาติของอาหารชนิดต่าง ๆ ที่ได้ชิม
2. สังเกตจากการติดภาพอาหารชนิดต่าง ๆ บนชาร์ต
3. ตรวจผลงานการเขียนคำลงในช่องว่างให้ตรงกับรสชาติของอาหารในภาพ
เรื่อง การทำอาหาร
จุดประสงค์
1. รู้จักวิธีการทำอาหารและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทำอาหารและอาหารที่ปรุงแล้วได้
2. พัฒนากล้ามเนื้อย่อยและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
กิจกรรมและประสบการณ์
ขั้นนำ
1. ครูนำภาพผัดผักรวมมิตร แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ปลาทูทอด และต้มยำกุ้งมาแสดง แล้วสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการประกอบอาหารต่าง ๆ (ต้ม ผัด แกง ทอด) จากนั้นให้เด็กร่วมกันลงคะแนนโดยการยกมือว่าอยากให้ครูสาธิตการทำอาหารชนิดใด
2. เด็กและครูสรุปผลการยกมือของเด็กว่าอาหารชนิดใดได้คะแนนมากที่สุด (แกงจืดเต้าหู้หมูสับ)
ขั้นสอน
1. เด็กสังเกตและแนะนำส่วนประกอบในการทำ “แกงจืดเต้าหู้หมูสับ” ร่วมกัน
2. ครูอธิบายขั้นตอนการทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับตามชาร์ต "วิธีทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ"
3. เด็กและครูร่วมกันทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับตามขั้นตอน โดยให้เด็กหยิบส่วนประกอบให้ครูนำลงใส่ในหม้อน้ำซุป
4. เด็กและครูรับประทานแกงจืดเต้าหู้หมูสับร่วมกัน
ขั้นสรุป
1. เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับการทำอาหารเป็นการอาหารดิบให้สุกรับประทานได้ และวิธีการทำอาหารมีหลายประเภท เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด
2. ให้เด็กดูภาพในชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 2 เล่ม 2 หน้า 3 แล้วตัดภาพด้านล่างมาติดลงใน ให้ถูกต้อง
สื่อการเรียนรู้
1. ภาพอาหารชนิดต่าง ๆ (ต้ม ผัด แกง ทอด)
2. ชาร์ต "วิธีทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ" และส่วนประกอบต่าง ๆ ในการทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ
3. ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 3 เล่ม 3 หน้า 3
ประเมินผล
1. สังเกตจากการสนทนาเกี่ยวกับการทำอาหารวิธีต่าง ๆ (ต้ม ผัด แกง ทอด)
2. สังเกตจากการช่วยทำแกงจืดเต้าหู้หมูสับ
3. ตรวจผลงานการตัดภาพด้านล่างมาติดลงใน ให้ถูกต้อง
เรื่อง อาหารให้ประโยชน์
จุดประสงค์
1. รู้จักและบอกประโยชน์ของอาหารประเภทต่างๆ ได้
2. พัฒนากล้ามเนื้อย่อยและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
กิจกรรมและประสบการณ์
ขั้นนำ
ครูนำชาร์ต “อาหาร 5 หมู่” มาแสดง แล้วทบทวนเกี่ยวกับหมู่ต่าง ๆ ร่วมกัน
ขั้นสอน
1. ครูนำภาพเด็กร่างกายแข็งแรง(หมู่ที่ 1 เนื้อ นม ไข่) เด็กเล่นกีฬา(หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล) เด็กขับถ่ายสะดวก(หมู่ที่ 3 ผักต่างๆ) เด็กหน้าตาแจ่มใส่ผิวพรรณ(หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ) และเด็กสุขภาพดี(หมู่ที่ 5 เนย น้ำมัน) มาแสดง แล้วให้เด็กร่วมกันทายว่าเด็กในแต่ะละภาพเป็นประโยชน์ของอาหารหมู่ใด
2. เด็กและครูเฉลยร่วมกัน โดยครูพลิกด้านหลังของภาพคือภาพหมู่อาหารที่ถูกต้อง
3. ครูนำ “สลัดผัก” มาแสดง แล้วให้เด็กสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับส่วนประกอบและประโยชน์ของสลัดผัก
4. เด็กรับประทานสลัดผักร่วมกัน แล้วช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียนหลังจากรับประทานเสร็จ
ขั้นสรุป
1. เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง ขับถ่ายสะดวก มีภูมิต้านทานโรคภัย
2. ให้เด็กดูภาพในชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว อนุบาล 3 เล่ม3 หน้า 4แล้วเขียนลงใน ภาพที่เป็นประโยชน์ของอาหาร
สื่อการเรียนรู้