ประวัติและตำนานวัดจะทิ้งพระ
คำ ว่าจะทิ้งพระ กร่อนมาจากสทิงปุระ เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นชื่อเมืองพัทลุงเก่าตั้งอยู่ ตั้งเมืองสทิงพระครั้งเมื่อกาลเวลาล่วงเลยมานับเป็นพันปี ชื่อสทิงปุระ จึงกร่อนมาเป็นจะทิ้งพระ สทิงพระเป็นชื่อสถานที่กลายเป็นชื่อวัด ชื่อตำบล และอำเภอ บนคาบสมุทรสทิงพระ วัดนี้แต่เดิมเคยมีชื่อเรียกว่าวัดพระมหาธาตุ มีมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่สูงตระหง่าน ต่อมาเรียกชื่อว่า วัดจะทิ้งพระ จะทิ้งพระชื่อของวัดในปัจจุบันใกล้เคียงกับชื่อเมืองสทิงพระ(สทิงปุระ หรือสทิงพาราณสี) ซึ่งพระยากรงทองเจ้าเมืองพัทลุงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1482 ตรงกับสมัยกรุงสุโขทัย ดังข้อความตอนหนึ่งในหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 15บันทึกไว้ว่า "เมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนพ.ศ.1480 ตัวเมืองตั้งอยุ่ที่สทิงพระ เจ้าเมืองชื่อพระยากรงทองได้ครองเมืองพัทลุง ในวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 5 ค่ำ ปีกุน พุทธศักราช1482 พระยากรงทองได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ และก่อพระเชตุพนวิหารขึ้น พร้อมกับวัดเขียนบางแก้ว และวัดสทิงปุระ ได้สร้างพระเจดีย์เอาไว้ที่นครปาตลีบุตร(เมืองพัทลุง)สทิงพารณสีแห่งนี้ เพราะแหล่งวัดเขียนบางแก้วและบนคาบสมุทรสทิงพระเป็นแหล่งชุมชนโบราณ
นักโบราณคดีมีทัสนะแนวความคิดว่า ชื่อของวัดจะทิ้งพระนี้ คนในสมัยโบราณรับคำพูดเล่าต่อๆกันมาว่า เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าฟ้าชายนนทกุมาร มาเป็นชื่อของสถานที่มี้รื่องนิทานชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมามาว่า เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าฟ้าชายทนทกุมาร เป็นพระธิดาและพระโอรสของพระเจ้าโกสีหราชกับพระนางมหาเทวี ครองเมืองนครทันตะปุระ(ประเทศอินเดีย) ขณะนั้นเมืองทันตะปุระเกิดศึกสงครามพระเจ้าโกสีหราชแพ้สงครามถึงกับสวรรคตใน สนามรบ เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าฟ้าชายทนทกุมาร จึงได้นำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าหลบหนีออกจากเมืองทันตะปุระตามคำสั่งของ พระชนก ลงเรืองสำเภามุ่งสู่ประเทศศรีลังกา(เกาะลังกา)แล้วเดินทางผ่านหมู่เกาะอันดามันในมหาสมุทรอินเดีย เข้าสู่ช่องแคบมะละกา มาออกอ่าวไทย จุดมุ่งหมายเพื่อนำพระบรมธาตุไปบรรจุพระเจดีย์ที่เมืองนครศรีธรรมราชขณะนั้น
ตามประวัติและตำนานพระมหาธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชสร้างพระธาตุเจดีย์ ประมาณ พ.ศ.850 เมื่อเดินทางมาถึงเมืองพาราณศรี(เมืองสทิงปุระเมืองพัทลุงเก่า)หาดมหาราชตรง หน้าที่ว่าการอำเภอสทิงพระปัจจุบัน เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าฟ้าชายทนทกุมารเสด็จขึ้นมาพักผ่อนเพื่อหาน้ำจืด ดื่มและสรงน้ำ ทั้งสองพระองค์จึงเสด็จขึ้นมาพักผ่อน ณ วัดแห่งนี้ จึงวางพระธาตุไว้ที่ฐานเจดีย์แห่งนี้ พักผ่อนหายจากเหน็ดเหนื่อย ทรงเดินทางกลับขึ้นเรือสำเภาต่อไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งสองก้ลืมพระธาตุ เจ้าฟ้าชายทนทกุมารตกพระทัยถามเจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาว่าน้องทิ้งพระธาตุเสีย แล้วหรือ คำนี้เลยกลายเป็น ชื่อสถานที่ วัด ,บ้าน, สืบมาจนปัจจุบัน ว่าจะทิ้งพระ เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าฟ้าชายทนทกุมารได้ทรงอันเชิญพระบรมสารีริกาตุไป บรรจุพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชประมาณ พ.ศ. 854 และหรือพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชซึ่งได้รับเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย และทินธาตุจากประเทศอินเดียซึ่งเจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าฟ้าชายทนทกุมารได้ ทรงอัญเชิญเมื่อประมาณ พ.ศ.850 ได้ก่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่หาดทรายแก้ว นครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.854 ซึ่งสอดคล้องกับพระธาตุเจดีย์วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ
สรุปความว่า ชื่อของวัดจะทิ้งพระ สทิงพระ สทิงปุระ สทิงปุระ สทิงพาราณสี มีแนวทางสันนิษฐานได้ 3 ประเด็น คือ
ประการแรก จะทิ้งพระ กร่อนมาจากคำว่าสทิงพระ สทิงปุระ หรือสทิงพาราณศรี เป็นชื่อเมืองโบราณ เป็นเมืองสองฝั่งทะเล ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนเป็นแหล่งเกิดเมืองสอง เมืองคือ เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอสทิงพระในปัจจุบัน ทำนองเดียวกับเมืองสงขลากร่อนมาจากสิงหราบ้างแปลว่าเมืองสิงห์ กร่อนมาจากสิงขรวึ่งแปลว่าภุเขาบ้าง
ประการที่สอง คนในสมัยโบราณเล่าต่อๆกันมาว่าเจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาซึ่งพูดกับเจ้าฟ้าชายทนทกุมารน้องชายว่า น้องจะทิ้งพรธาตุเสียแล้วหรือมานับเป็นชื่อของสถานที่ วัด บ้าน อำเภอ ในปัจจุบันและพระยากรงทอง เจ้าเมืองพัทลุงเก่า ได้สร้างพระบรมธาตุเจดียืครอบไว้
ประการที่สาม พระราชวิจารณ์ของพระปิยะมหาราชรั๙กาลที่ 5 ในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในกรุงเทพฯมหานครเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2434 ว่า จะทิ้งพระ กร่อนมาจากคำว่า จันทิพระ ตามสำเนียง - ชาวนอก ซึ่งเป็นชื่อของวัดมหายานในเกาะชวา(ประเทศอินโดนีเซีย) เมื่อครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เสด็จวัดจะทิ้งพระ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2434 และวัดจะทิ้งพระสมัยก่อนมี 2 วัด อยู่คนละฟากถนน
วัดจะทิ้งพระอยู่ทางด้านตะวันตก มีพระครูวินัยธรรมเป็นหัววัดหมื่นธรรมเจดีย์เป็นนายเพณี มีข้าพระ 5 หัวงาน
วัดพระมหาธาตุอยู่ด้านตะวันออก มีพระเจดีย์องค์ใหญ่มีพระครูอมฤตย์ศิริวัดธนธาตุหัวหน้าคณะชุมนุมรักษาพระมหาธาตุ ขุนธรรมพยาบาลเป็นนายเพณี มีข้าพระ 5 หัวงานและหรือวัดจะทิ้งพระ พระครูวินัยธรรม เป็นหัววัด หมื่นธรรมเจดีย์เป็นนายเพณี มีข้าพระ 5 หัวงาน นางจันหอม หัวงาน 1 นางศรีบุตร หัวงาน1 นางยอดหัวงาน 1 นางไกรหัวงาน1 นางอินหัวงาน1
วัดพระมหาธาตุ พระเจดีย์พระเจ้าองค์ใหญ่พระครูอมฤตย์ศิริวัฒนธนธาตุ หัวหน้าคณะชุมนุมรักษาพราตุ ขุนธรรมพยาบาลเป็นนายเพณี มีข้าพระ 5 หัวงาน นางแกนทอง หัวงาน 1 นางยก หัวงาน 1 นางยอด หัวงาน 1 นางสร้อย หัวงาน 1 นางแผดงยศ หัวงาน 1
ปัจจุบัน รวมเป็นวัดจะทิ้งพระ จุดเด่นพระธาตุองค์ใหญ่เรียกว่าพระมหาธาตุเจดีย์ ที่ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นที่เคารพสักการะ ของพระพุทธศาสนิกชนแตะละปีมีการแห่ผ้าขึ้นห่อหุ้มพระธาตุเจดีย์เป็นพุทธบูชา และเป็นปูชนียสถานสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองชาวสทิงพระตลอดมา
พระบรมธาตุเจดีย์วัดจะทิ้งพระ ประมาณว่าได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัยคือประมาณปี พ.ศ. 1300 ตามลัทธิพุทธศาสนานิกายมหายานลักษณะของสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย คือทำเป็นมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดทำเป็นสถูปมีเจดีย์บริวาร 4 มุม ครั้นต่อมาสมัยศรีวิชัยตอนปลาย ประมาณ พ.ศ.1700 พุทธศาสนานิกายมหายานมีความรุ่งเรืองมากในประเทศลังกาพระธาตุเจดีย์จึง เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นรูประฆังคว่ำ ฐานของพระบรมธาตุเ