การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิจัยเชิง และวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ลักษณะงานและความสุขในการทำงาน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ลักษณะงานกับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนในฝัน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 139 คน จาก 10 โรงเรียนที่ผ่านโครงการโรงเรียนในฝัน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 105 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยการวิเคราะห์ทางสถิติจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่าครูโรงเรียนในฝันผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 105 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.4 เป็นเพศชายร้อยละ 27.6 มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปมากที่สุดร้อยละ 51.4 มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรีร้อยละ 77.1 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 21 ปีขึ้นไป ร้อยละ 57.1 และส่วนใหญ่เป็นข้าราชการร้อยละ 92.4 สอนนักเรียนเพียงช่วงชั้นเดียวมากที่สุดร้อยละ 77.1 โดยการรับรู้ลักษณะงานของครูโรงเรียนในฝัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.17) ความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนในฝัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.21)
ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้ลักษณะงานกับความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนในฝันมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = .582) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาในรายด้านของการรับรู้ลักษณะงานพบว่าด้านผลป้อนกลับของงานมีความสัมพันธ์มากกว่าด้านอื่น ซึ่งผลป้อนกลับของงานจะช่วยให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น