การสถาปนาอำนาจนำของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
การเมือง คือ การได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร การเมืองไทยปัจจุบันอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามการเมืองไทยยังมีการต่อสู้ของกลุ่มการเมืองระหว่างหัวอภิชนสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยเกิดรัฐประหารหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารในหลายๆครั้ง จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฏบัตรรวมแล้ว 19 ฉบับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง
ในอดีตประเทศไทยเคยมีระบบหลายพรรคการเมือง กล่าวคือ มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องอาศัยพรรคการเมืองหลายพรรค ในระบบของพรรคการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นระบบการปกครองที่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางการเมือง โดยพรรคการเมืองต่างๆ สามารถแข่งันกันเพื่อให้ไดเรับชัยชนะในการเลือกตั้ง ดังนั้น เมื่อมองถึงพัฒนาการทางการเมืองไทยในรูปแบบสถาบันทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคการเมืองไทยนั้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นไปตามกรอบแนวคิดประชาธิปไตยหรือสถาบันทางการเมืองแบบประชาธิปไตย เช่น พรรคการเมืองไทยเกิดขึ้นมาตามสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในอดีต และเกิดจากตัวบุคคลหรือผู้นำพรรคการเมืองเป็นนายทุนใหญ่ เป็นผู้มีบารมีทางการเมือง
คำว่า“อำนาจ”ในที่นี้หมายความถึงพลังอะไรบางอย่าง ที่จะสามารถบังคับให้คนหรือกลุ่มบุคคลที่มีพลังน้อยกว่ากระทำตามที่ต้องการ อำนาจมีความเกี่ยวข้องกับส่วนอื่น ไม่ใช่อำนาจทางการเมืองเพียงส่วนเดียว และปัจจุบันส่วนอื่นที่ว่านี้ มีความสำคัญมากขึ้น และบางมิติอาจจะมีมากกว่าอำนาจทางการเมืองด้วยซ้ำไป อำนาจส่วนอื่นๆนี้ จะมีการให้ความสำคัญมากกับสำนักคิดแบบสมัยใหม่ ที่เรียกว่า Post –Modern โดยจะเรียกการสถาปนาของอำนาจส่วนอื่นแบบนี้ว่าเป็น อำนาจที่เป็นจริงและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต บุคคลที่แสดงให้เห็นถึง การมีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทย บุคคลสำคัญในช่วง พ.ศ. 2523 - 2531 ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยยาวนานถึง 8 ปีโดยไม่มีพรรคการเมืองอยู่ในมือ ไม่ได้ขึ้นมาด้วยการรัฐประหาร ไม่ได้ใช้ระบอบเผด็จการ
บุคคลผู้นี้คือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่เข้ารับตำแหน่งนายกฯ ตั้งแต่ปี 2523 ที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายรวมถึงทหารและข้าราชการระดับสูง ซึ่งเป็นสองฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมืองสูงในสมัยนั้น
หลังตัดสินใจไม่รับตำแหน่งนายกฯ เมื่อปี 2531 ด้วยคำอธิบายสั้นๆ ว่า “ผมพอแล้ว” บทบาททางการเมืองของพลเอกเปรมกลับไม่ได้ยุติลงไป เพราะถัดไปเพียงหนึ่งเดือน พลเอกเปรมได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีในปี 2531 และสิบปีต่อมา เมื่อพ.ศ. 2541 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรีในที่สุด
ด้วยฐานะองคมนตรีที่ถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความพยายามคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองหลายครั้ง จึงมักมีกระแสข่าวถึงชื่อพลเอกเปรมเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการอยู่เสมอ
การปาฐกถาระยะหลังของพลเอกเปรมซึ่งตอกย้ำถึงความซื่อสัตย์สุจริตว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ตลอดเส้นทางการทำงาน พลเอกเปรมเป็นผู้หนึ่งที่สงวนถ้อยคำมากที่สุด ความเงียบและคำตอบสั้นๆ เป็นวิธีรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีที่สุดเสมอ แม้สถานะความเป็นประธานองคมนตรีของ พล.อ.เปรม จะได้รับการยอมรับและถูกวางเอาไว้ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามโครงสร้างสังคมไทยก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว พล.อ.เปรม ยังคงถูกมองว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพล มากบารมีต่อคนทุกภาคส่วนในสังคมไทยอย่างแท้จริง ทั้งต่อข้าราชการทหาร พลเรือน และต่อการเมือง ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองมาโดยตลอด
ดังนั้น สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นตัวชี้วัด “อำนาจ” และ “บารมี” ของ พล.อ.เปรม ที่มีต่อสังคมไทยได้อย่างโดดเด่นและชัดเจนมากที่สุด