การปักชำใบ
การปักชำใบสามารถจะทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด โดยแบ่งเป็น
2.1 การปักชำแผ่นใบ
2.2 การปักชำใบที่มีก้านใบ
2.3 การปักชำใบที่มีตาติด
การปักชำใบ
freebird_cool_1.gif 2.1 การปักชำแผ่นใบ
โดยการตัดแผ่นใบออกเป็นส่วน ๆ ต้นและรากใหม่จะเกิดจากแผ่นใบโดยตรง การปักชำมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของพืช คือ
2.1.1 การปักชำใบลิ้นมังกร
เลือกใบที่แก่และหนาพอสมควร ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 2-3 นิ้ว (อาจยาวกว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณต้นที่ต้องการ) นำมาปักชำในวัสดุปักชำ (ทรายผสมขี้เถ้าแกลบอัตรา 1:1) ปักลึก ½ - ¾ ของความยาวของชิ้นใบที่ใช้ปักชำ ต้นและรากใหม่จะเกิดตรงฐานของใบที่ปักชำ (ส่วนโคนของใบ) ใบเก่าจะค่อย ๆ แห้งตายไป การปักชำควรระวังหัวท้ายของใบ
2.1.2 การปักชำใบบีโกเนียประดับหรือกล็อกซีเนีย
นำใบแก่มากรีดเส้นใบใหญ่ให้ขาดจากกัน (อาจกรีดให้ขาดเป็นส่วน ๆ หรือยังติดเป็นใบอยู่ก็ได้) การปักชำมี 2 วิธี คือ
(1) การปักชำแบบวางแผ่นใบลงบนวัสดุปักชำ กลบด้วยวัสดุปักชำบาง ๆ พอไม่ให้ใบแห้ง
(2) การปักชำแบบนำแผ่นใบแต่ละส่วนปักชำบนวัสดุปักชำ
นำกระบะปักตำตั้งไว้ในที่ร่มมีความชื้นสูงแต่ไม่แฉะ ต้นและรากใหม่จะเกิดตรงบริเวณเส้นใบที่ถูกตัดขาด ขณะเดียวกันใบเก่าจะค่อย ๆ แห้งตายไป
2.1.3 การปักชำใบโคมญี่ปุ่นหรือใบคว่ำตายหงายเป็น
ตัดใบที่แก่วางบนวัสดุปักชำที่ชื้น การปักชำควรกลบใบบางส่วน หรือพยายามทำให้ขอบใบชิดอยู่กับวัสดุปักชำเพื่อป้องกันมิให้ใบแห้ง ต้นและรากใหม่จะเกิดตรงรอยหยักของแผ่นใบ บริเวณนั้นจะมีคัพภะของแผ่นใบที่พักตัวอยู่
freebird_cool_1.gif 2.2 การปักชำใบที่มีก้านใบ
ต้นและรากใหม่จะเกิดตรงปลายของก้านใบ นิยมใช้ในการปักชำใบอัฟริกัน-ไวโอเล็ต ใบที่ปักชำควรจะเป็นใบที่อยู่ช่วงกลางของต้น ไม่ควรใช้ใบแก่ (ใบล่าง) หรือใบอ่อน (ใบยอด) ตัดใบให้มีก้านใบยาวประมาณ ½ - 1 นิ้ว ปักชำก้านใบลงในวัสดุปักชำ ควรจะปักชำให้หันหน้าไปทางเดียวกันโดยตลอดอย่างมีระเบียบ อย่าให้ขอบใบชนกัน อาจชำในกระถาง 10 นิ้วตื้น หรือกระบะเพาะเมล็ดก็ได้ การใช้ฮอร์โมนเร่งรากความเข้มข้นต่ำประมาณ 50 ppm จุ่มก้านใบก่อนปักชำ จะช่วยให้ออกรากเร็วขึ้น การให้น้ำควรให้ทางก้นกระถาง
freebird_cool_1.gif 2.3 การปักชำใบที่มีตามติด
ได้แก่ การปักชำใบที่มีแผ่นใบ ก้านใบ และกิ่งหรือลำต้นที่มีตาติดอยู่ด้วย เนื่องจากพืชพวกนี้จะออกรากใหม่ได้ดี แต่เกิดต้นใหม่ได้ช้ามาก จึงต้องให้มีตามเก่าติดไปด้วย เพื่อแตกเป็นต้นใหม่ เช่น ยางอินเดีย เปปเปอร์โรเมีย มะนาว
การปักชำควรชำส่วนของลำต้นให้ตาจมลงไปประมาณ ½ นิ้ว จะเกิดรากและยอดขึ้นมาใหม่ตรงบริเวณข้อ