เรือแข่งของจังหวัดน่านนี้จะมีลักษณะต่างกัน จากเรือของภาคกลางคือ ลำตัวจะไม้ไม้ซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือซะล่า แต่จะมีรูปทรงเพรียวลมเหมาะแก่การแข่งขัน เรือลำหนึ่ง จะมีฝีพายประมาณ 28 - 45 คน แต่ในปัจจุบันนี้บางลำใหญ่มากจุฝีพายถึง 50 คน มีหัวเรือทำเป็นรูปพระยานาคราช หรืองูใหญ่ ชูคอสง่า อ้าปากเขี้ยวงองอนสูง ติดพู่ห้อยหัว และหางตลอดทั้งลำ ติดกระจกสีสลักลายอย่างวิจิตรพิศดาร ลงรักปิดทองแลดูแวววาวคล้ายเรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ ตรงคอต่อหัวเรือมีธงประจำคณะหลากหลายสีติดอยู่ การเลือกไม้มาทำเรือส่วนมากใช้ไม้ตะเคียนมาทำเรือ เพราะถือว่า ผีนางไม้แรงดีลอดน้ำได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ การต้องการทำเรือแข่งไห้เหมือนนาคนั้น หรือคล้ายพญานาคนั้น ในหนังสือ ประเพณีการแข่งเรือเมืองน่าน ปี พ.ศ. 2525 กล่าวไว้ว่า จำลองมาจากรูปพญานาคนั่นเอง เพราะว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว ตามประวัติพญานาค เป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบัลดานไห้ฟ้าฝนอุดมสมบูรณ์เพื่อไห้มนุษย์ได้ทำไร่ ทำนา และการเกษตรอื่น ๆ ก่อนที่จะทำการแข่งขัน เรือแข่งแต่ละลำต่างจะนำคณะเรือของตนพายเอื่อย ๆ เลาะมาตามตลิ่ง บ้างก็กลางแม่น้ำ เพื่อเป็นการอวดฝีพายและความพร้อมเพรียงเสนอไห้ผู้ชมได้เห็น เรือแต่ลำจะตีฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ และพลับพาง เครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่ทำด้วย ทองเหลือง หรือทองแดงบาง ๆ เวลาใช้ฆ้องตีจะมีเสียงดังแหบ ๆ ดังประสานกันเป็นจังหวะเร้าใจ "โมง……แท้บแท้ง……แท้ง …แถ่ง….ๆๆๆ" ประสานเสียงกับปี่ชวาจากเรือบางลำ ในที่สุดก็เป็นการแสดงดนตรีดังกระหึ่มไปทั่วลำน้ำน่าน และจะมีนักล่าเรือ รำโดยกยายส่ายไปมาไห้จังหวะฆ้องกลอง เป็นที่ชื่นชอบและน่าดูเป็นอย่างยิ่ง ฝีพายแต่ละลำ ก็แต่งกายด้วยชุดหลากสี