แต่ก่อนกาลท่านวีรสตรี ท้าวสุรนารีผู้เป็นใหญ่
กล้าหาญยอดยิ่งผู้หญิงไทย มิ่งขวัญธงชัยของเมืองเรา
ท้าวสุรนารีเดิมชื่อ โม หรือ โม้ ท่านเป็นบุคคลสำคัญประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมาในฐานะผู้กอบกู้เมืองนครราชสีมา จากกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๙ คุณหญิงโม เกิดเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๕ ปีเถาะ ในแผ่นดิน พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี บิดามารดาชื่อนายกิ่ม นางบุญมา เมื่ออายุ ๒๕ ปี ได้เข้าพิธีสมรสกับเจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ) ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา ครั้งยังดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นพระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัยปลัดเมืองนครราชสีมา มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกับข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ไปทางทิศใต้ ท่านไม่มีบุตรสืบตระกูล ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเดือน ๕ ปีชวดพุทธศักราช ๒๓๙๕ รวมอายุได้ ๘๑ ปี
วีรกรรมของคุณหญิงโมนั้นเป็นที่คนไทยรุ่นหลังทราบดีว่า ท่านได้เป็นหัวหน้ารวบรวมครอบครัวชายหญิงชาวนครราชสีมา (ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย) เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสำริด แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ที่ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด วีรกรรมอันห้าวหาญของคุณหญิงโม เมื่อทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี และได้รับ พระราชทานเครื่องยศ ดังนี้ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก ๑ ใบ จอกหมากทองคำ ๑ คู่ ตลับทองคำ ๓ ใบเถา เต้าปูนทองคำ ๑ ใบ คนโทและขันน้ำทองคำอย่างละ ๑ ใบ อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และได้บูรณะใหม่ให้งามสง่ายิ่งขึ้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐เหตุการณ์ที่สมควรจะบันทึกไว้ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๔ คือเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ท่ามกลางพสกนิกร ที่เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีอย่างเนื่องแน่น ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า
....ท้าวสุรนารีเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมา ได้แสดงพลังต้องการ ความเรียบร้อยความสงบเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง.... อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ และได้บูรณะใหม่ให้งาม สง่ายิ่งขึ้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ ท้าวสุรนารี ในโอกาสนี้ พระราชทานบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า ".... ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัยควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้อง สามัคคี รู้จักหน้าที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันชาวนครราชสีมา ได้แสดงพลังต้องการความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลกจะผันผวน และล่อแหลมมากแต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกัน ชาติก็จะมั่นคง.ท้าวสุรนารี นามเดิม คุณหญิงโม เป็นธิดา นายกิ่ม นางบุญมา เกิดเมื่อพ.ศ.2314 สมรสกับพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา(ทองคำ) ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง เป็น พระยามหิศราธิบดีในปี พ.ศ.2369 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์บุตรเจ้าศิริบุญสาร ผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างและเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยต้องการเป็นเอกราช จึงเป็นกบฏยกทัพจะมาตีกรุงเทพฯ เจ้าอนุวงศ์ใช้อุบายหลอกลวงเจ้าเมืองตามรายทาง โดยปลอม ท้องตราพระราชสีห์ ว่า ไทยขอให้เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาช่วยรบกับอังกฤษ ซึ่งยกทัพเรือจะมาตีกรุงเทพๆ จึงไม่มีผู้ใดขัดขวางวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและ มีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่เจ้าพระยามหานครราชสีมา ไม่อยู่ และพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการเมืองขุขันธ์ กองทัพเจ้าอนุวงศ์มาถึง จึงเข้ายึดเมือง ยึดทรัพย์สินและให้เพี้ยรามพิชัย หรือพระยารามพิชัย กวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยศึก เดินทางกลับไปเวียงจันทร์ก่อน ส่วนเจ้าอนุวงศ์เดินทัพต่อไปยังสระบุรีเพื่อเข้ากรุงเทพๆในบรรดาเชลยศึกมีคุณหญิงโมรวมอยู่ด้วย คุณหญิงโม เป็นหญิงที่ฉลาดหลักแหลมรู้ทันว่า เจ้าอนุวงศ์หลอกลวง คุณหญิงโมออกอุบายให้ทหารเวียงจันทร์ ตายใจ โดยให้หญิงไทยที่ถูกต้อนเป็นเชลยยั่วยวน หน่วงเหนี่ยวทหารให้เดินทัพช้าลง วางแผนให้พวกผู้หญิง หลอกขอมีด จอบ เสียม มาใช้ซ่อมเกวียนและทำอาหาร แท้จริงแล้วกลับนำมีด จอบ เสียมนั้นมาลอบตัดไม้เป็นอาวุธแอบซ่อนไว้
ระหว่างพักที่ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงพิมาย ซึ่งห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2369 สบโอกาสเหมาะ พวกผู้หญิง ช่วยกัน หลอกล่อ มอมเหล้าทหารจนเมามายไร้สติไปทั้งกองทัพ แล้วช่วยกันทั้งหญิงและชายแย่งอาวุธฆ่าฟัน จนทหารล้มตายเป็นจำนวนมาก กองทัพแตกพ่ายไป เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว จึงตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ชาวเมืองที่หนีรู้ข่าวการชนะศึก จึงพากันกลับมาสมทบ และพระยาปลัดก็ยกทัพตามมาช่วยทันเวลา ส่วนเจ้าอนุวงศ์รู้ข่าวว่ากรุงเทพๆ ยกทัพขึ้นมาช่วย จึงเลิกทัพกลับไปเวียงจันทร์วีรกรรมที่คุณหญิงโม ได้ประกอบขึ้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาคุณหญิงโม ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์ เป็นท้าวสุรนารี และพระ